About the Journal
วารสารมีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับต่อปี
- ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งคุณภาพ มาตรฐานทางวิชาการ และมาตรฐานด้านจริยธรรมอย่างเคร่งครัด ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวารสารฯ ซึ่งได้แก่ ผู้นิพนธ์ บรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ได้ตระหนักและคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติ จึงได้กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย วิชาการ ไว้ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนบทความต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดไว้เท่านั้น
- ผู้เขียนบทความต้องไม่นำบทความไปตีพิมพ์ที่อื่นพร้อมๆ กัน จนกว่าจะได้รับการปฏิเสธจากวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้ว
- บทความของผู้เขียนบทความต้องเป็นผลงานของตนเอง และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- ผู้เขียนบทความต้องอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอไว้ในบทความของตนเอง
- ผู้เขียนบทความต้องนำเสนอผลงานที่ได้ตามข้อเท็จจริง
- ชื่อผู้เขียนบทความที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในผลงานนี้จริง
- ผู้เขียนบทความต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัย
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาคุณภาพของวารสารให้ดีขึ้นและทันสมัยอยู่เสมอ
- บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพก่อนการตีพิมพ์
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ
- บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความ และผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ
- บรรณาธิการต้องใช้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ ตลอดจนพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิในการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
- ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องรักษาระยะเวลาการประเมินตามกรอบเวลาที่วารสารฯกำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้
- ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะรับประเมินอย่างแท้จริง หากไม่สามารถอ่านบทความได้ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
- ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานที่ตนเองได้ทำการประเมิน
- หากผู้ทรงคุณวุฒิฯ ทราบว่าบทความที่กำลังพิจารณา คัดลอกผลงานอื่นๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารทราบทันที
- ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องนำเสนอผลการประเมินตามหลักวิชาการ ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าผลงานนั้นจะไม่สามารถรับตีพิมพ์ได้
Focus and Scope
วัตถุประสงค์
1) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้และทัศนะทางวิชาการด้านจีนศึกษา
2) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านจีนศึกษา
3) เพื่อเป็นเวทีในการเสนอผลงานทางวิชาการของนักวิชาการด้านจีนศึกษาจากแหล่งต่างๆ
Peer Review Process
ผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสารจีนศึกษาจะผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ และคณะกรรมการพิจารณาบทความทางวิชาการและบทความวิจัยของวารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างน้อย 3 ท่าน โดยประเมินแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ
All submitted manuscripts must be review by at least two expert reviewers via the double- blinded review system
Open Access Policy
This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.