วิเคราะห์สระเสียงสั้นจากอีกแง่มุมหนึ่ง

Main Article Content

เต๋อติ่ง พัน

Abstract

บทคัดย่อ: หนังสือตำราเรียนภาษาไทยที่มีอยู่เกือบทุกฉบับต่างก็แนะนำว่าในภาษาไทยมีสระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยและสระเดี่ยวเสียงสั้นอีก 9 หน่วย แต่ในการปฏิบัติเราจะพบว่าสระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยอยู่อย่างเป็นอิสระได้ ข้างหลังจะมีตัวสะกดก็ได้ ไม่มีตัวสะกดก็ได้ แต่สระเดี่ยวเสียงสั้น 9 หน่วยอยู่อย่างเป็นอิสระไม่ได้ ต้องมีพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวสะกดตามหลังเสมอ ผู้เขียนพบว่าตัวสะกดในพยางค์ที่ต้องออกเสียงสั้นนี้มีบทบาทในการบีบบังคับให้สระในพยางค์ออกเสียงได้แต่สั้นๆ จึงเห็นว่าอันที่จริงภาษาไทยมีสระเดี่ยวเพียง 9 หน่วยเท่านั้นเองโดยไม่ได้แยกเป็นสระเสียงยาวกับสระเสียงสั้น สระที่ปรากฎในพยางค์ต่าง ๆ มียาวบ้างสั้นบ้างนั้นเหตุเพราะสระนั้นๆ ตกอยู่ในเบ้าพยางค์ที่ต่างกันสองชนิดได้แก่เบ้าพยางค์หลวมกับเบ้าพยางค์คับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความกิตติมศักดิ์

References

กาญจนา นาคสกุล. 2524. ระบบเสียงภาษาไทย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. 2525. สำนักพิมพ์อักษาเจริญทัศน์.
พระยาอุปกิตศิลปสาร. 2532. หลักภาษาไทย. บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2523. หลักภาษาไทย. บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.