การศึกษาเปรียบเทียบเชิงปริมาณของคำพ้องความหมายระหว่างภาษาจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับภาษาจีนกลาง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ได้รวบรวมคำพ้องความหมายระหว่างภาษาจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับภาษาจีนกลางจำนวน 900 คำจากฐานข้อมูล “พจนานุกรมภาษาจีนรอบโลก”(全球华语词典) จากนั้นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบเชิงปริมาณจากห้ามิติ ได้แก่ประเทศและพื้นที่ที่ใช้คำพ้องความหมาย จำนวนของคำพ้องความหมาย ที่มาของคำพ้องความหมาย ประเภทและจำนวนพยางค์ของคำพ้องความหมาย ขอบเขตความหมายของคำพ้องความหมาย จากการศึกษาพบว่า ประเทศที่ใช้คำพ้องความหมายมากที่สุดคือสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย คำพ้องความหมายส่วนใหญ่สัมพันธ์กันแบบ 1ต่อ1 แต่คำพ้องความหมายที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือคำที่มีสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ M(Many) คำพ้องความหมายที่มาจากภาษาต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและภาษามาลายู ส่วนคำพ้องความหมายที่มาจากภาษาถิ่นของจีนส่วนใหญ่มาจากภาษากวางตุ้ง ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาเจียงซู(อู๋) ในด้านประเภทคำพบว่าคำพ้องความหมายส่วนใหญ่เป็นคำนาม ในด้านจำนวนพยางค์พบว่าส่วนใหญ่มีสองพยางค์ ในด้านขอบเขตความหมายพบว่าคำพ้องความหมายส่วนใหญ่เป็นคำที่หมายถึงสิ่งของที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งมีชีวิต และกิจกรรมทางสังคม
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
References
汉语词汇协调的原则与方法. 南京. 南京社会科学。
郭熙.2010.新加坡中学生华语词语使用情况调查. 华文教学与研究。
李慧.2005.从《两岸现代汉语常用词典》看两岸的同实异名词语. 修辞学习。
李如龙.2013.海外汉语方言研究的新视野——读《全球华语词典》. 辞书研究。
李宇明2010《全球华语词典》. 北京:商务印书馆。
刘全惟2013《马来西亚华语词语使用情况调查》. 导师:李红印. 北京大学。
刘文辉、宗世海2006《印度尼西亚华语区域词语初探》. 暨南大学华文学院学报。
刘新中、韩慧玲2009《闽粤客三大方言对东南亚华语语音词汇的影响例说》载《首届海外汉语方言国际研讨会论文集》. 暨南大学汉语方言研究中心。
邱克威2014《叻报》的词语特点及其词汇学价值管窥. 语言研究。
施春宏2015《从泰式华文的用词特征看华文社区词问题》载《语文研究》。
宋飞2016《东南亚特色华语词汇的区域和国别比较研究》载《语言文字应用》。
王世凯、方磊2012《全球华语词典》中异名词语的调查分析. 语言文字应用。
周荐1997《异名同实词语研究》载《中国语文》。