การศึกษาภาษาศาสตร์แขนงต้ง-สุ่ย ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

เมชฌ สอดส่องกฤษ

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาภาษาศาสตร์แขนงต้ง-สุ่ย ในประเทศจีนที่รัฐบาลจีนรับรองให้มีสถานภาพเป็นชนกลุ่มน้อย ประกอบไปด้วยภาษา 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาต้ง ภาษาเหมาหนาน ภาษามูลัมและภาษาสุ่ย วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเอกสารโดยมุ่งสังเคราะห์เอกสารภาษาจีนของนักวิชาการจีน แล้วนำเสนอข้อมูลชาติพันธุ์วรรณนาโดยการพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า นักวิชาการจีนยังคงยึดถือการจัดภาษาต้ง ภาษาเหมาหนาน ภาษามูลัม และภาษาสุ่ยไว้ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เนื่องจากมีร่องรอยคำศัพท์ที่สามารถสืบสาวไปถึงภาษาจีนโบราณที่เรียกว่า “คำศัพท์ร่วมโบราณ” และยังพบคำศัพท์ที่ไม่ร่วมเผ่าพันธุ์กับภาษาไทย แต่สามารถหาคำศัพท์ร่วมในภาษาจีนได้ คำศัพท์เหล่านี้มีทั้งที่เป็นคำศัพท์ร่วมโบราณและคำยืมเก่า นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์บางอย่างยืมมาจากภาษาจีนด้วย จากการวิเคราะห์ระบบเสียง ระบบคำและระบบไวยากรณ์เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกันก็พบว่าภาษาทั้งสี่มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด โดยที่เมื่อจับคู่เปรียบเทียบสองภาษาพบว่าภาษาเหมาหนานกับภาษาสุ่ยมีลักษณะที่สัมพันธ์กันมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบสามภาษาพบว่า ภาษาต้ง ภาษาเหมาหนานและภาษามูลัมสัมพันธ์กันมากที่สุด ส่วนภาษาสุ่ยมีลักษณะเฉพาะที่ไม่สอดคล้องกับภาษาอื่นมากที่สุด

Article Details

Section
Articles

References

เมชฌ สอดส่องกฤษ. 2555. สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.
พิมพ์ครั้งที่2. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์อุบลราชธานี.
เมชฌ สอดสองกฤษ. 2558a. การพรรณนาภาษาเหมาหนานในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน. วารสารภาษานิดาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.20(26).
เมชฌ สอดสองกฤษ. 2558b. การพรรณนาภาษามู่หล่าวในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน. วารสารศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยศาสนศึกษา.
มหาวิทยาลัยมหิดล. 9(2).
เมชฌ สอดส่องกฤษ. 2558c. การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.
วารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 16(1).
เมชฌ สอดสองกฤษ. 2559. การพรรณนาภาษาต้งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.
วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.7 (1), 11-45.
เมชฌ สอดสองกฤษ. 2559. การศึกษาภาษาศาสตร์แขนงจ้วง-ไตในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน. โครงการวิจัยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุริยา รัตนกุล. 2548. นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท.กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
冯英2008《水语复音词研究》香港:中华书局. 李锦芳2003“巴哈布央语概况”《民族语文》北京:中国民族语言学会.
梁敏,张均如 1996《侗台语族语言概论》北京:中国社会科学出版社.
梁敏1979《侗语简志》北京:民族出版社.
梁敏1980《毛难语简志》北京:民族出版社. 僚人家园Liáo rén jiāyuán(2015.05.10)http://www.rauz.net.cn 刘世彬2009《贵州毛南族(佯僙人)族源探析》黔南民族师范学院学报. 第2期.
欧亨元2004《侗汉词典》北京:民族出版社. 潘中西,潘政波.2012.《水族水语有声词典》[Software] 贵州:贵州大学 西南少数民族语言文化研究所. http://www.pcxwxx.com
石林1997《侗语汉语语法比较研究》北京:中央民族大学出版社. 石愿兵. (2006)《侗语语法特点简介》通道文化遗产网. [Online]
http://leecgaeml.blog.163.com. 搜索日期:2015年8月10日. 汪锋,孔江平2001“水语(三洞)声调的声学研究”《民族语文》北京: 北京大学中国语言学研究中心.
王均,郑国乔 1979《仫佬语简志》北京:民族出版社.
韦学纯2011《水语描写研究》上海:博士文学学位论文,上海师范大学.
吴平欢. 21012. 《基础侗语课堂1-15》优酷网.[Online] 搜索日期:2015
年8月10日.
http://www.youku.com/playlist_show/id_18045177.html.
曾晓渝2004《汉语水语关系论》北京:商务出版社.
张景霓2006《毛南语动词研究》北京:中央民族大学出版社.
张均如1980《水语简志》北京:民族出版社.
Benedict, Paul K. 1983. “Mulao: key to Kadai phonology”
Computational Analysis of Asian and African Languages, 1983 (21).
Edmondson, Jerold A. and Yang, Quan. 1988. Word initial preconsonants and
the history of Kam-Sui resonant initials and tones. In Edmondson, Jerold
A. and Solnit, David B. (eds.),Comparative Kadai: Linguistic Studies Beyond
Tai. The Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at
Arlington.
Haudricourt, A.G. 1961. “Bipartition et tripartition des systems de tons dans
quelques langues d’Extrem-Orient”, BSLP (English translation by.C.Court
1972, in Phonetics and Phonology, Bangkok, Central Institute for English
Language.) 56 (1).
Tatsuo Nishida. 1955. “Mako-Suigo to kyotsu Taigo” Gengo Kenkyu (Journal
of Linguistics Society of Japan) Tokyo.1955 (28).
Tian Qiao Lu. 2008. A Grammar of Maonan. Boca Raton (USA): Universal
Publishers.