กรณีศึกษาทฤษฎีภาพวาดโดยศิลปินจีน ซูซื่อ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ปรัชญาแนวคิดเล่าจื่อและจวงจื่อในภาพวาด แบบปัญญาชนดั้งเดิม “เหวินเหรินฮว่า”

Main Article Content

หมิ่น เจิ้ง
ไพลิน เชิญเพชร

Abstract

ภาพวาดแบบปัญญาชนดั้งเดิม หรือ “เหวินเหรินฮว่า” (Literati painting) เป็นภาพวาดที่นิยม
อย่างกว้างขวางในหมู่นักปราชญ์และศิลปินจีนในยุคโบราณ องค์ประกอบของภาพโดยทั่วไปมักวาดเป็นภาพ
ภูเขา สายน้้า นก ดอกไม้นานาพันธุ์ อาทิ ดอกเหมย ดอกกล้วยไม้ ดอกเบญจมาศ เป็นต้น รวมถึง ไม้ไผ่ ต้นไม้
และก้อนหิน จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึง “พลัง” และ “เป็นเครื่องช่วยปลอบประโลมใจ” มีรูปแบบพิถีพิถันใน
การตวัดฝีแปรงทำให้ภาพวาดมีความน่าสนใจ เน้นจังหวะ ความมีเสน่ห์งดงาม และในภาพวาดยังแทรกบทกวี
และศิลปะการเขียนพู่กันจีน กล่าวได้ว่า “เหวินเหรินฮว่า” เป็นการผสมผสานหลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตรกรรม วรรณคดี ศิลปะการเขียนพู่กันจีนและการประทับตรา
“เหวินเหรินฮว่า” เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น สืบมาจนถึงราชวงศ์ถัง มีการสร้างเป็นแบบแผนในสมัย
ราชวงศ์ซ่ง และเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ศิลปินจีน ซูซื่อ มี
ความเห็นเกี่ยวกับทฤษฎีภาพวาดเหวินเหรินฮว่า ดังนี้ 1. การเขียนพู่กันจีนและภาพวาดสอดคล้องกัน 2. การ
ให้ความสำคัญต่ออารมณ์และจิตวิญญาณ 3. ความงดงามของสรรพสิ่งภายนอกซึ่งแฝงอยู่ในภาพวาด 4.
ความเรียบง่าย ธรรมดา ไม่ซับซ้อน ด้วยการวางรากฐานทางวรรณคดีอันเข้มแข็งของท่าน กอปรกับผลกระทบ
ทางสังคม เป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาภาพวาดเหวินเหรินฮว่าขึ้น ภาพวาดเหวินเหรินฮว่านั้นมิใช่เริ่มต้น
จากซูซื่อ แต่ทว่าเมื่อพูดถึงภาพวาดประเภทนี้แล้ว ทุกคนต่างนึกไปถึงซูซื่อเสมอ เนื่องมาจากว่า อันดับแรก ซู
ซื่อ เป็นผู้เสนอแนวคิดของภาพวาดเหวินเหรินฮว่า อันดับที่สอง ซูซื่อ เป็นผู้ปูพื้นฐานทางทฤษฎีของภาพวาด
ดังกล่าว ซูซื่อพยายามริเริ่มสนับสนุนภาพวาดเหวินเหรินฮว่าบนพื้นฐานของหลักทฤษฏีและการปฏิบัติ ถือ
เป็นบุคคลสำคัญที่มีคุณูปการต่อการพัฒนาภาพวาดเหวินเหรินฮว่า
จิตวิญญาณเล่าจื๊อจวงจื่อ หมายถึง ปรัชญาแนวคิดของเล่าจื๊อและจวงจื่อ อาทิ แนวคิดเทียนเต้ากวาน
หรือ มรรควิถีแห่งฟ้าของเล่าจื่อ แนวคิดสำคัญของสำนักจวงจื่อ นั่นคือ การแสวงหาความหมายของปัจเจก
ชนบนพื้นฐานแนวคิด “เต๋า” (มรรค) ของปราชญ์เล่าจื๊อ แนวคิด “สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว” เป็นตัวแทนความรู้


ที่มีคุณค่าสูงสุด สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดพื้นฐานที่จะทำให้มนุษย์ได้รับความสุขอย่างอิสรเสรี แนวคิด “อิสรจร”
ยังเป็นแนวคิดหนึ่งที่ส้าคัญของจวงจื่อ ถือเป็นรูปแบบทางอุดมคติที่มนุษย์จะมีความสุขได้อย่างอิสระ แนวคิด
“ลดตัณหาความทะยานอยาก” “มุ่งความสงบสุขทางใจ” “จิตเป็นสุญญตา” “ความไร้ชื่อ” “ความไร้
ความสำเร็จ” “ความไร้อัตตา” สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนทางที่จะไปสู่ความสุขของมนุษย์ ปรัชญาแนวคิดเล่าจื๊อ
และจวงจื่อมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความคิด วัฒนธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดี และศิลปะจีนยาวนาน
กว่าสองพันปี
ตามประวัติศาสตร์จีน ศิลปินปัญญาชนจีนหลายท่านต่างประสบเคราะห์กรรมจากความขัดแย้งในการ
รับราชการ เป็นเหตุให้ชะตาชีวิตตนต้องผกผัน ปรัชญาแนวคิดเล่าจื่อและจวงจื่อจึงกลายเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
ของพวกเขา หลายท่านตัดสินใจละทิ้งทุกสิ่ง กลับคืนสู่ธรรมชาติ อาศัยภูเขาและสายน้้า ทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึง
ความหมายที่แท้จริงของปรัชญาแนวคิดดังกล่าว เข้าใจสิ่งใดคือความงดงามที่แท้จริงในใต้หล้า สิ่งใดคือ
ความสุขสูงสุดตามอุดมคติของมนุษยชาติ ในบรรดาความคิดความเห็นทางศิลปวรรณคดีและภาพวาดเหวินเห
รินฮว่าที่ได้น้าเสนอออกมานั้นล้วนแล้วสื่อถึงปรัชญาแนวคิดเล่าจื่อและจวงจื่อ กล่าวคือ 1) ความหมายใน
ภาพวาดที่สื่อให้เห็นถึงความเปล่าเปลี่ยว เป็นอิสระ และระวางจากทุกสิ่ง 2) การเข้าถึงสภาวะลืมตัวตนและ
สิ่งภายนอก เข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ 3) การสร้างรูปแบบการเข้าถึงมรรควิถีแห่งธรรมชาติ 4)
จิตวิญญาณแนวคิด “อิสรจร” 5) ความเข้าใจความงดงามของสรรพสิ่งภายนอกซึ่งแฝงอยู่ในภาพวาด และ 6)
การแสวงหาความงามที่เป็นธรรมดา ไม่ซับซ้อน ด้วยความหมายที่สื่อออกมาดังกล่าวนั้น “เหวินเหรินฮว่า”
เปรียบเสมือนการระบายความรู้สึก ความอัดอั้นภายในใจที่มีต่อสังคมจีนที่ระส่้าระสายและการฉ้อราษฎร์บัง
หลวงในสมัยนั้น และเป็นที่พึ่งทางจิตใจทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเป็นภาพวาดที่สื่อถึงการเสาะแสวงหาแนวทาง
อุดมคติแห่งเต๋า ในการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายตามธรรมชาติ และอิสรจรของมนุษย์
ระเบียบวิธีการวิจัยของบทความฉบับนี้ยกกรณีศึกษาจากทฤษฎีภาพวาดของศิลปินจีน ซูซื่อ โดยใช้
หลักปรัชญาแนวคิดเล่าจื่อและจวงจื่อในการส่องสะท้อนและวิเคราะห์ภาพวาดดังกล่าว จึงสรุปผลได้ว่าจิต
วิญญาณแห่งเล่าจื่อจวงจื่อถือเป็นแก่นหลักของภาพวาดเหวินเหรินฮว่า จุดประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาเชิง
ลึกในด้านความเชื่อมโยงกันระหว่างความเข้าใจวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมกับปรัชญาแนวคิดดั้งเดิมของจีน รวมทั้ง
เพื่อเป็นการขยายความรู้ดังกล่าวในแวดวงวิชาการต่อไป


 

Article Details

Section
Articles

References

陈传席 2000《中国绘画美学史》,北京:人民美术出版社。
陈高华 1984《宋辽金画家史料》,北京:文物出版社。
陈高华 1987《隋唐画家史料》,北京:文物出版社。
陈鼓应 1981《庄子今注今译》,北京:中华书局。
苏轼研究学会 1983《东坡诗论丛——苏轼研究论文第二集》,成都:四川人
民出版社。
王金山 2006《中国名画家全集—文同 苏轼》,石家庄:河北教育出版社。
徐复观 2005《中国艺术精神》,上海:华东师范大学出版社。
俞剑华 2005《中国古代画论类编》,北京:人民美术出版社。
曾枣庄 2000《苏文汇编,北京:兵器工业出版社。
张宏儒 1997《中华人物史鉴》,北京:团结出版社。
张震 1989《老子•庄子•列子》,长沙:岳麓书社。