การวิเคราะห์พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้าและ ซินหวารื่อเป้าในแง่ความหมายของคำศัพท์ โครงสร้างวลีและประโยค
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์การใช้ภาษาในพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์จีน 2 ฉบับ ที่นิยมอ่านกันมากในประเทศจีน ได้แก่หนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้าและซินหวารื่อเป้า จำนวน 300 ข่าว ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้“ประโยค”พาดหัวข่าว จำนวน 289 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 96.33 รองลงมาใช้ “วลี” จำนวน 11 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 3.67 แต่ไม่พบว่ามีการใช้“คำ” เพียงอย่างเดียวพาดหัวข่าว กล่าวทางด้านชนิดของประโยคที่ใช้พาดหัวข่าว พบว่านิยมใช้ “ประโยคบอกเล่า” เป็นอเนกรรถประโยคเชิงซ้อนคู่ขนานที่มีความสัมพันธ์แบบควบคู่ จำนวน 127 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 54.27 รองลงมาคือเอกรรถประโยคเชิงเดียวแบบบทกริยาคำกริยา จำนวน 48 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20.51 และประโยคบทกริยาเชื่อมโยงจำนวน 25 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 10.68 ตามลำดับ อนึ่ง ผลการวิเคราะห์ประโยคพาดหัวข่าว พบว่าประกอบด้วยคำนามและคำกริยามากกว่าคำชนิดอื่นอย่างโดดเด่น ในขณะที่ไม่พบคำเลียนเสียงและคำเติมท้าย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจได้แก่ (1) ประโยคบอกเล่าไม่นิยมใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างประโยคและไม่ใช้เครื่องหมายมหัพภาคเมื่อจบประโยค (2) การใช้อเนกรรถประโยคพาดหัวข่าวส่วนใหญ่เป็นแบบคู่ขนานที่มีความสัมพันธ์แบบควบคู่ (3) การเขียนพาดหัวข่าวนิยมใช้อักษรย่อ คำย่อ คำตัด คำสแลง และสำนวนเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้อสังเกตทั้งสามนี้ อาจเป็นอุปสรรคของการเรียนรู้ภาษาจีนของผู้เรียนชาวต่างชาติได้ โดยผู้วิจัยคาดหวังว่าผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการอ่านและเขียนภาษาจีน สำหรับนักศึกษาและผู้สนใจชาวต่างชาติ
“试析《人民日报》与《新华日报》的新闻标题” (词之意及词组与句子的语法结构)
本文主要研究中国最流行的两份电子版报刊《人民日报》与《新华日报》的300句新闻标题。研究结果发现:使用“句子”作为标题的占全部考察对象的96.33%(289条新闻),其中陈述句最多;“词组” 只占全部的3.67%(11条新闻);没发现只使用“词语”作为新闻标题的情况。于“陈述句”形式的新闻标题中,第一,大部分为并列关系联合复句,占全部的54.27%(127条新闻);第二,使用动词谓语单句,占全部的20.51%(48条新闻);第三,使用连谓句,占全部的10.68%(25条新闻)。除此之外,还发现“名词与动词”是使用频率最高的词类,但没发现使用“象声词与词尾”。此次考察的对象还具有一些新闻标题特有的语言特点如:第一,“陈述句”中不使用逗号,句尾亦不使用句号;第二,常以并列关系的联合复句作为新闻标题;第三,专有名词、缩略词、熟语、流行词汇大量出现。以上标题的特点首先可以使标题简洁醒目,同时揭示中心内容。其次从读者角度,这样一目了然,方便易读。但若读者为外籍读者,那么这些特点也会造成一定的理解障碍,这种障碍是语言和文化两方面的。因此,学者希望该研究成果能对学汉语的学生以及感兴趣者有一定的作用。
An Analysis of Chinese Newspaper’s Headline: “Chinese People’s Daily” and “Xinhua Daily” (Word’s Meaning; Phrase and Sentence Grammatical Structure)
This research aims to study 300 headlines from two Chinese newspapers: “Chinese People’s Daily” and “Xinhua Daily” in terms of their word’s meanings; phrases and sentence grammatical structures. The result reveals that, among those headlines, sentences were used 289 times (96.33% of all samples); phrases 11 times (3.67% of all samples); but there is no headline used only word to create a headline. There are three types of sentences appear in these headlines, which are; Firstly, the manifold coupled affirmative sentence, found 127 sentences (54.27% of all samples). Secondly, the verb predicate simple sentence, found 48 sentences (20.51% of all samples). Finally, a linking verb simple sentence, found 25 sentences (10.68% of all samples). For the word type, exclusive of noun, verb is the most frequency use in the Chinese headlines, but there is no imitating the nature and suffix. In addition, the research found that the language identity and grammatical structures in these samples of the headlines are; (1) omitting commas and full stops in affirmative sentence; (2) often use of the manifold coupled affirmative sentence” instead of the other types of the manifold sentence; (3) use of proper nouns, abbreviations, idioms, and popular words in order to make the headlines compact and clear. Nonetheless, these language identities are difficult for non-native readers to understand in the Chinese language and culture. Thus, researcher hopes this works is useful to study Chinese language for students and others.
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์