อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและภาคชนบทจีน: กรณีศึกษาหมู่บ้านกลางน้ำโจวจวง และเมืองโบราณต้าเหยียนลี่เจียง
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยฉบับนี้ศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industries) ในชนบทของประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลจีนกำลังให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวางและส่งอิทธิพลอย่างสำคัญต่อชนบทจีน วิธีการศึกษาคือการใช้การวิจัยเอกสารภาษาจีนเป็นหลัก โดยเลือกกรณีศึกษา 2 กรณีคือ โจวจวง หมู่บ้านโบราณกลางน้ำในเขตซูโจว มณฑลเจียงซูและเมืองโบราณต้าเหยียนลี่เจียง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) ศึกษากระบวนการสร้างและจัดการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในชนบทของประเทศจีน (2) ศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีต่อชนบทและภาคการเกษตรของจีน และ (3) ศึกษาปรากฏการณ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมในชนบทจีน เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทย
ผลการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในชนบทจีนจากประสบการณ์ของโจวจวงและลี่เจียงสรุปได้ว่า เงื่อนไขของความสำเร็จและล้มเหลวของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในชนบทจีนเกี่ยวข้องกับ (1) บทบาทของภาครัฐและประสิทธิภาพของกลไกรัฐ (2) บริบทของท้องถิ่นและมรดกทางวัฒนธรรม (3) พลังของโลกาภิวัตน์และบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ (4) นวัตกรรมการบริหารจัดการอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (5) ปฏิบัติการที่มาจากฐานของการสั่งสมความรู้และการวิจัย นอกจากนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในชนบทยังจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบและขีดจำกัดของการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไปพร้อมกันด้วย ในปัจจุบันอุตสาหกรรมวัฒนธรรมได้กลายเป็นทั้งแนวคิดและปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและมีพลวัตสูงยิ่งและต้องการการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโดยการลงพื้นที่ศึกษาภาคสนามระยะยาวและการศึกษาวิจัยข้ามวัฒนธรรม
中国文化产业与中国农村的发展 ——以周庄古镇和丽江古城为例
近年来,中国政府对农村文化产业给予高度重视。农村文化产业的开发对于加快农村的发展,推动农村的城市化进程有着重要的作用。本文主要基于中国境内农村文化产业发展相关文献,并以“江苏周庄古镇”和“云南丽江古城”为例加以研究,并着重探讨以下三方面:一)中国农村文化产业的建设与管理;二)中国农村文化产业的开发在新农村建设中的作用;三)中国文化产业发展对泰国的影响和启示。
研究结果表明,中国农村文化产业发展的成功完全取决于以下条件:一)中国国家宏观政策;二)当地文化遗产的特色与优势;三)世界经济全球化的发展趋势和变化以及国际组织的作用;四)文化遗产管理创新;五)经过长期的建设与发展,已积累了较为深厚的基础,并形成了良好的发展态势。此外,在对农村文化产业进行开发的同时,也不能忽略当地农村局限性以及未来将产生的种种负面影响。迄今,文化产业已经成为当今世界十分引人瞩目的新兴产业。在发达国家,文化产业不仅在发展速度上超过传统产业,而且在产业规模和财富创造能力上也日益显示出其强劲的增长实力,成为扩张性对外贸易的主导型产业和国民经济与社会发展的重要支柱。因此,对文化产业发展进行深入研究,尤其是对当地农村进行长时间实地考察及跨文化研究将有助于推动泰国文化事业的发展。
Cultural Industries in Rural China :Case Studies of Zhouzhuang and Dayan Lijiang
This research paper focuses on the present status and development of cultural industrialization in rural China. The research explores the repercussion of the state-led cultural industries on rural China including the resurrection and invention of traditions and the production of cultural commodities. Moreover, the whole process has brought unprecedented cultural and socio-economic transformation to rural China. The project has three major objectives: 1) to study the construction and management of cultural industries in rural China; 2) to study the impact of the cultural industries on China’s rural and agricultural sector; and 3) to assess how the transformations can be used as some lessons for Thailand. The documentary research is framed by the major literature in Chinese. It is a case study focusing on twoareas: Zhouzhuang, Jiangsu and Dayan Lijiang, Yunnan.
Findings can be concluded that the success and failure of cultural industries in rural China are related to the following conditions : 1) role and efficiency of the state; 2) local context and its cultural heritage; 3) forces of globalization and the roles of international organizations; 4) innovations in cultural heritage management; 5) practices resulting from accumulative research and knowledge. Moreover, we also needed awareness of limitations and repercussions of cultural industries in rural areas. Nowadays, cultural industries became both ‘idea’ and ‘cultural phenomena’ which are so dynamic and diversified. Thus, further studies are needed; especially in long-term ethnographic fieldworks and cross-cultural studies.
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์