การศึกษา เรื่องเล่าอาฝานถี ในฐานะนิทานมุขตลกแนวเสียดสี

Main Article Content

วรีสรา จารย์ปัญญา

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษานิทานพื้นบ้านจีน  เรื่องเล่าอาฝานถี ใน 3 ประเด็นหลักคือ ศึกษาอนุภาคที่ปรากฏใน เรื่องเล่าอาฝานถี  วิเคราะห์กลวิธีการพลิกความหมายในการนำเสนอ  เรื่องเล่าอาฝานถี ในฐานะนิทานมุขตลกแนวเสียดสี และวิเคราะห์นัยทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นใน เรื่องเล่าอาฝานถี

ผลการวิจัยพบว่า 1) อนุภาคใน เรื่องเล่าอาฝานถี  มี 7 อนุภาค คือ  อนุภาคการตีความอย่างเถรตรง   อนุภาคการใช้อุบาย  อนุภาคการกระทำเรื่องเหลือเชื่อ อนุภาคเกี่ยวกับสิ่งสกปรกและเรื่องเพศ อนุภาคเกี่ยวกับการหลอกลวงความไว้วางใจ อนุภาคเกี่ยวกับการทดสอบความฉลาดหรือความสามารถ อนุภาคเกี่ยวกับบุคคลและสังคม 2) กลวิธีการพลิกความหมายในการนำเสนอ เรื่องเล่าอาฝานถี  มี 5 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการเล่นคำ กลวิธีการให้เหตุผล กลวิธีการนำเสนอให้ทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ กลวิธีการใช้กลอุบายโดยการวางแผน กลวิธีการสอดแทรกคติสอนใจ  3) นัยทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นใน เรื่องเล่าอาฝานถี คือคู่ตรงข้ามที่นำเสนอในนิทานเรื่องนี้ล้วนเป็นบุคคลที่มีอำนาจในสังคม อาทิ จักรพรรดิ นักบวช และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น เพื่อผ่อนคลายความกดดันจากปัญหาความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคม  เรื่องเล่าอาฝานถี จึงนำเสนอบุคคลเหล่านี้ในฐานะ “ตัวตลก” ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้

 

《阿凡提的故事》民间嘲讽笑话浅析

本论文主要研究中国民间文学《阿凡提的故事》以三项内容如下:研究中国民间故事《阿凡提的故事》的母题,研究民间嘲讽笑话《阿凡提的故事》的转折意思手法,以及研究民间嘲讽笑话《阿凡提的故事》所反映的社会背景。

研究结果发现,一、《阿凡提的故事》中的重要母题共有7点,直接表达母题、使用诡计或恶作剧母题、超乎想像故事母题、内容肮脏或与性有关故事母题、欺骗与信任母题、智力或能力测试母题、个人与社会母题。二、《阿凡提的故事》中转折意思的手法共有5个,偷换概念手法、阐述依据手法、不切实际的建议手法、使用计划性谋略手法、赋予教育意义手法。三、《阿凡提的故事》中所反映的社会背景是指阿凡提在本故事当中所斗争的人物都是有权力的对手,例如:国王、宗教首领、本地有权力的人等,为了减轻社会中的不平等现象,《阿凡提的故事》提出上述人物作为“搞笑人物”而这些是在现实生活中无法实现的。

 

A STUDY OF THE STORY OF AFANTI AS SATIRICAL TRICKSTER TALES

This research aims to study and analyze the main three issues in the Chinese Folklore “The Story of Afanti”, including the motifs illustrated in “The Story of Afanti”, the twist meaning techniques used in “The Story of Afanti” as a satirical trickster tales, and the social significance reflected in “The Story of Afanti”.

According to the results of this research, firstly, there are seven motifs found in “The Story of Afanti”, i.e. literal interpretations, tricks, unbelievable performance, uncleanliness and sex, deception into giving false credits, test of cleverness or ability, and persons and society. Secondly, there are five twist meaning techniques that are used to present “The Story of Afanti”, i.e. punning technique, reasoning technique, the technique to suggest doing something that cannot be done, tricking technique by means of planning and the technique of inserting moral perceptive. Finally, regarding the social significance reflected through “The Story of Afanti”, a satirical trickster tales, it is found that the opponent pairs in the tale are usually the powerful people in the society such as emperors, priests and local influential persons. To relieve the pressure from the relationship of unequal power in this society, “The Story of Afanti” illustrates these people as “the fools”, which is impossible in reality.

Article Details

Section
Articles