จากวรรณกรรมคลาสสิกสู่หนังสือขายดี : การผลิตสามก๊กให้เป็น สินค้าหลังปี 2540

Main Article Content

ยศไกร ส.ตันสกุล

Abstract

บทความนี้ มุ่งศึกษาวัฒนธรรมการผลิตใหม่ของหนังสือด้วยบริบททางสังคม โดย ยกกรณีศึกษาเรื่อง “สามก๊ก” การผลิตใหม่จากวรรณกรรมคลาสสิกสู่หนังสือขายดี หลังจาก วิกฤติเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” และการคอรัปชั่นทางการเมืองในปี พ.ศ.2540 โดยวิธีการสำรวจ ตลาดหนังสือที่เกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์ระหว่างบริบทของสังคมกับ นักเขียน นักอ่าน และ ผู้ผลิต และศึกษาจากตัวอย่างของสามก๊กสองฉบับที่ขายดีและมีชื่อเสียงมาก ซึ่งได้ตีแผ่ ความคิดของชนชั้นนำไทยสองกลุ่ม ได้แก่ เจ้าสัว และ ขุนศึก ให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย นั่นคือ “สามก๊กฉบับนักบริหาร” หนังสือคู่มือที่มีชื่อเสียงมาก และ “สามก๊กฉบับคนขาย ชาติ” หนังสือเสียดสีการเมืองไทย งานทั้งสองฉบับนี้เป็นผลจากการนำชุดความรู้และภูมิ ปัญญาจีนในสามก๊กมาผลิตใหม่สู่หนังสือขายดี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สามก๊กเป็น วรรณกรรมคลาสสิกเพียงเรื่องเดียวในสังคมไทยที่ประสบความสำเร็จในการผลิตใหม่สู่หนังสือขายดีด้วยกระแสนิยม “บูรพาภิวัตน์” ในฐานะภูมิปัญญาจีนหรือชุดความรู้ที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของคนอ่านเพื่อแก้ไขปัญหาและเป็นวิธีสู่การประสบความสำเร็จใน ชีวิตได้ และยังได้สร้างแบรนด์สินค้าของตนเองเพื่อการสร้างกลุ่มนักเขียนและนักอ่านสืบทอด ต่อไปได้ด้วย

 

从中国经典到泰国畅销书:1997 年后泰国 《三国演义》书籍的商品化

本文试图对中国经典小说《三国演义》在泰国的商品化,尤其是它在 1997 年泰国经济危机后的生产和消费加以讨论。自19 世纪《三国》在泰出 版以来,一直深受泰国读者的欢迎,而且事实上《三国》还成为泰国商人和 政治人物获取知识的一种来源。1997 年经济危机以后,“东方化”的概念流 行,强调东方的知识和价值,并成为被广泛讨论的话题。本文指出1997 年 的经济危机促成了中国经典书籍,特别是《三国》在泰国的生产和消费。这 从当两本《三国》泰文书籍的畅销可知,其中一本是《管理经商的三国》, 讲三国与商业运作,一本是《卖国贼的三国》,用三国来进行政治讽刺。这 两本书都是从三国的故事主线发展出来的,同时又有自己特殊的目的,它们 都将中国经典小说三国商品化,成为一种现成的可以实践的知识。

 

From Chinese classic to Thai best sellers: The Commondification of the Romance of Three Kingdoms (Samkok) in post-1997 Thailand

This article attempts to examine the commodification of the Chinese classic “The Romance of the Three Kingdoms,” or Samkok in Thai, with particular focus on the production and consumption of Thai best sellers on Samkok after the economic crisis in 1997. It demonstrates that although circulated in Thai society since the nineteenth century, Samkok has never lost it popularity among Thai readers. In fact, Samkok has become a source of knowledge for Thai entrepreneurs and politicians, or what Craig J. Reynolds called, “Tycoons” and “Warlords”. After the economic crisis in 1997, the idea of “Orientalization” that emphasizes knowledge and value of the East has become a matter of much discussion. Therefore, this article argues that the economic crisis in 1997 gives rise to the popularity of production and consumption of books that stem from Chinese classics, especially Samkok. This can be seen from the case of study of two Thai best sellers: “Samkok for the executives”—a popular how-to business book, and “Samkok for the traitors”—a famous political parody book. Both are developed from the storyline of Samkok with specific purposes, which commodify the Chinese classic Samkok into Thai best sellers for being a source of ready-made knowledge.

Article Details

Section
Articles