汉语动趋式“V 过”与泰语相应结构的 语义对比初探

Main Article Content

马春霖 -

Abstract

汉语动趋式“V 过”在语义上根据“V”、宾语和主语的差别可以分 为11 个不同的意义,泰语却用不同的词来表达的。因此对泰国学习者而 言,动趋式“V 过”也并非是易于掌握的。本文主要基于对外汉语教学法中 的比较法,以汉语动趋式“V 过”为主与泰语的相应结构进行对比。首先, 把11 个不同意义的汉语动趋式“V 过”大概分为基本意义和引申意义,然后 按照该分类与泰语的相应结构进行探讨。结果发现基本意义的“V 过”可对 应于泰语的“V ผ่าน”和“V ข้าม”。至于引申意义的“V 过”,泰语使用不 同的词语来表达,比如,表示解除约束、使之自由意义的“V 过”,泰语使 用“ปล่อย...ไป”(放过)或者“ให้อภัย”(饶过);表示超过目的或标准意义的 “V 过”,泰语使用“Vเลย/เพลิน/เกิน”等。

 

การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของโครงสร้าง“คำกริยา+ หน่วยเสริมกริยาบอกทิศทาง 过”ในภาษาจีนกับโครงสร้างใน ภาษาไทยที่คล้ายคลึงกัน

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างทาง ความหมายของโครงสร้าง “คำกริยา+หน่วยเสริมกริยาบอกทิศทาง 过” กับโครงสร้างใน ภาษาไทยที่คล้ายคลึงกันตามหลักวิธีการสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ โดยมีขั้นตอน การศึกษาวิจัยดังนี้ 1)จำแนกความหมายของโครงสร้าง “คำกริยา+หน่วยเสริมกริยาบอก ทิศทาง 过” ในภาษาจีนตามคำกริยาในโครงสร้าง บทกรรมและบทประธานที่แตกต่างกัน ออกไป 2) นำโครงสร้าง “คำกริยา+หน่วยเสริมกริยาบอกทิศทาง 过” ไปเปรียบเทียบกับ โครงสร้างในภาษาไทยที่คล้ายคลึงกัน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า โครงสร้าง “คำกริยา+หน่วย เสริมกริยาบอกทิศทาง 过” ในภาษาจีนนั้นจำแนกความหมายได้เป็น 11 ประเภท โดย แบ่งเป็น “ความหมายเดิม” และ “ความหมายที่เปลี่ยนแปลงไป” เมื่อนำโครงสร้างนี้ไปเปรียบเทียบกับภาษาไทยในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน จะพบว่าภาษาไทยใช้คำที่แตกต่างกัน ออกไปในแต่ละความหมาย เช่น ในความหมายเดิม ภาษาไทยใช้ “Vผ่าน” หรือ “Vข้าม” โดย ในความหมายผ่านหรือเดินทางผ่านและลอดทะลุผ่านจะใช้ “Vผ่าน” และในความหมายข้าม จากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งจะใช้ “Vข้าม” ส่วนในความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ภาษาไทย จะใช้คำที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในความหมายเกินกว่าหรือเหนือกว่ากำหนดหรือมาตรฐาน ภาษาไทยใช้ “Vเลย/เพลิน/เกิน” หรือในความหมายสามารถกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ภาษาไทย ใช้ “Vพ้น/รอด...ได้” เป็นต้น ความแตกต่างระหว่างโครงสร้าง “คำกริยา+หน่วยเสริมกริยา บอกทิศทาง 过” ในภาษาจีนและภาษาไทย ทำให้ผู้เรียนชาวไทยเกิดอุปสรรคในการเลือกใช้ โครงสร้างดังกล่าว

 

A verb-directional complement structure of “Vguo” in Mandarin can be devided into 11 different meanings,but in Thai we use different words to express these meanings. Therefore, for Thai learners, the verb-directional complement structure of “Vguo” is not easy to understand.In this paper, based on the concept of comparative method in teaching Chinese as a foreign language, we will compare the verb-directional complement structure of “Vguo” in Mandarin with the corresponding structure in Thai. By doing this,we hope that Thai learners will not only understand more about the semantics of verb-direction complement structure of “Vguo” but also can use it properly.

Article Details

Section
Articles