中古谐谑文学概述
Main Article Content
Abstract
วรรณคดีขบขันในสมัยโบราณตอนกลาง
นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมางานเขียนที่มีลักษณะพิเศษของวรรณคดีขบขัน จะถูก สอดแทรกอยู่ในคัมภีร์สำคัญของสำนักขงจื๊อ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ปรัชญานิพนธ์ และ ปกิณกะนิพนธ์ต่างๆ พัฒนาการของวรรณคดีขบขันของยุคโบราณตอนกลางมีพื้นฐานมาจาก การสร้างสรรค์ตั้งแต่ก่อนยุคฉินและฮั่น มีการพัฒนาจนมีรูปแบบที่แน่นอนในยุคเว้ยจิ้นหรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรื่องที่สุด แต่ว่า สำหรับวรรณคดีขบขันแล้ว การไม่มีนัยอัน สำคัญและมีลักษณะการเขียนที่แตกต่างจากวรรณคดีสามัญ จึงทำให้ไม่ได้รับการสนใจ เท่าที่ควร หรือกระทั่งไม่ได้รับการประเมินค่าอย่างที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะถูก มองเป็นชิ้นงานที่เป็นลักษณะขบขัน แต่จริงๆ แล้วกลับมีแนวคิดสำคัญหลายด้านที่ค่าควรแก่ การค้นคว้าและศึกษา ทั้งในส่วนของตัวภาษาและนัยแฝงที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอซึ่งเต็มไป ด้วยความลึกซึ้งและน่าสนใจ
The Introduction of Chinese Humorous literature In the Middle Ancient Times
Since ancient times, humorous literature was interpolated into the Confucius scriptures, historical and philosophical writings and miscellanies. The development of the Middle Ancient Times humorous literature derived from the creativity of pre-Qin and pre-Han dynasties. The development reached its peak in Wei-Jin era which could be seen as the golden age of humorous literature. However, the lack of philosophical merits and unusual forms of writing made humorous literature unpopular and undervalued. Commonly seen as farcical and entertaining works, humorous literature, however, contained numerous insights and profound messages both in terms of the use of language and connotative meanings ingeniously hidden in the those writings.
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์