การศึกษาเปรียบเทียบการแปลสำนวนในเฟิงเสินเหยี่ยนอี้กับ ห้องสินฉบับพากย์ไทยสมัยรัชกาลที่สองและสำนวนแปลของ วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย

Main Article Content

บุรินทร์ ศรีสมถวิล

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบการแปลสำนวนในเฟิงเสินเหยี่ยนอี้กับห้องสิน ฉบับพากย์ไทยสมัยรัชกาลที่สองและสำนวนแปลของวิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ ผลการศึกษา พบว่า “ห้องสินฉบับพากย์ไทยสมัยรัชกาลที่สอง” แปลโดยการละ มากที่สุด พบจำนวนทั้งสิ้น 98 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 69.01 ของสำนวนตัวอย่างทั้งหมด ส่วนใน “ฮ่องสิน ประกาศิต แต่งตั้งเทพเจ้า สำนวนแปลของวิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์” ใช้วิธีการแปลตรง จำนวนทั้งสิ้น 138 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 97.18 ของสำนวนตัวอย่างทั้งหมด สาเหตุที่ทำให้ฉบับแปลทั้ง สองสำนวนใช้กลวิธีการแปลต่างกัน คือ ยุคสมัยกับผู้แปล “ห้องสิน” แปลในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีข้อจำกัดในด้านความรู้เรื่องจีนศึกษา และไม่มีผู้เชี่ยวชาญทั้ง ภาษาไทยและภาษาจีนในบุคคลเดียวกัน ผู้แปลจึงเป็นคณะบุคคลที่อาจสื่อสารไม่เข้าใจกันได้ โดยตลอด การแปลจึงเป็นการแปลแบบเก็บความและเป็นการแปลสองทอด การถ่ายทอด เนื้อหาทางวัฒนธรรมบางประการผ่านสำนวนจีนจึงอาจไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ ในยุค รัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมใช้ลีลาภาษาร้อยแก้วเชิงวรรณศิลป์ร่วมสมัยในยุคนั้น การแปล สำนวนจึงมีการตกแต่งโวหารให้สละสลวย สั้น กระชับ ส่วน“ฮ่องสิน” แปลขึ้นในสมัย ปัจจุบัน ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2551 แปลและเรียบเรียงขึ้นจากผู้มีความรู้ทั้งภาษาจีนและ ภาษาไทยในบุคคลเดียวกัน ไม่ได้มีข้อจำกัดในด้านการแปล เช่น ความรู้ด้านจีนศึกษา เป็น ต้น ประกอบกับทฤษฎีความรู้ด้านการแปลพัฒนาเป็นวิชาการมากขึ้น “ฮ่องสิน” ฉบับ ปัจจุบันจึงใช้การแปลตรง เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษารูปแบบทางภาษาและการแปลเชิง วิชาการ

 

《封神演义》两个泰译本熟语翻译与原著比较研究

本文以负载了丰富文化内涵的熟语为研究对象,从《封神演义》的两 个泰译本之间熟语翻译策略选择上的差异出发,试图对它们进行全面系统的 比较研究。研究发现,拉玛二王朝时期问世的泰译本《封神》大多以省略译 法对熟语进行翻译,占全部考察熟语的69.01%(98 条熟语);威瓦·帕查 隆伟版《封神》对熟语的翻译方法则以直译法居多,占全部考察熟语的 97.18%(138 条熟语),两者显然在熟语翻译方法上存在极大的差异,其中 原因在于两个方面:即编译时间和编译者。首部泰译本《封神》编译于较为 缺乏中国文化背景知识的曼谷王朝初期,当时泰国尚无精通中泰两种语言的 翻译家,故而形成了一种独特的翻译方法:即组成一个翻译班子,通过多人 分工合作编译而成。但这种多人分工合作的方法在文化相互渗透、相互吸收 的同时不可避免地会出现文化信息遗漏的现象,熟语翻译也不例外。此外, 曼谷王朝初期的文学具有一个共同的艺术特征,即散文文体盛行,因此编译 者在熟语翻译过程中也自然会对其加工润色,赋以优美、明快的意境;威 瓦·帕查隆伟版《封神》则成书于公元2008 年,这是由一个既精通中泰两 种语言又具备丰富的文化背景知识的编译者以直译法独立编译完成的。与此 同时,随着目前翻译学科意识的增强,及翻译理论研究的深入,翻译学术研 讨活动也异常活跃,这些都为后译者在熟语翻译方法的选择上提供了一定的 科学依据,并为今后学者对熟语表层结构和深层结构展开研究提供了一定的 理论基础。以上都为第二部泰译本《封神》的编译者对书中熟语的处理方法 提供了更多的选择。

 

The Comparative Study of Idioms of Fengshen Yanyi between Two Thai Translated Versions (King Rama II Version and Wiwat Pracharuangwit Version)

This research aims to study the comparison of idioms translations of Feng Shen Yanyi between King Rama II’s Thai Translated ‘Hong Sin’ and the other version by Wiwat Pracharuangwit. The result shows that the King Rama II’s thai translation has omitted some words or phrases by 98 cases (69.1% of all samples); while the translation by Wiwat Pracharuangwit often uses the direct translation by 138 cases (97.18 % of all samples). The main reasons that cause the different methods of translation in the two versions are the different time period and the conditions of the translation. The first ‘Hong Sin’ was translated in the early Rattanakosin period, was when there was much limitation in Chinese studies, and there was not a particular person who know well of both Thai and Chinese. Therefore, the translations had to be a group of people who might not be able to communicate very well, thus led to the ‘summarization’ instead of the actual translation. Some cultural elements in Chinese may have not been transferred into the Thai version. Because, the stylized and literary prose was popular in early Rattanakosin period, and there may have been changes of some contents, in order to make them more familiar and precise in Thai. The second ‘Hong Sin’ was translated at present time and it was published in 2008. The translator knows both Chinese and Thai, and the limitation in Chinese studies no longer exists. The translation theory was much developed into the more academic position, The direct translation was thus used in this new version of ‘Hong Sin’ which is beneficial to the study of language form and academic translation.

Article Details

Section
Articles