中国现实主义文学思潮与泰国“文艺为人 生”文学思潮比较研究
Main Article Content
Abstract
การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมแนวสัจนิยมจีนและวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย
นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมจีนไทยในบ้านเรายังมีจำนวนไม่มากนัก เท่าที่ผู้วิจัยค้นพบข้อมูลส่วนใหญ่มักจะศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของวรรณกรรมจีนโบราณที่มีอิทธิพลต่อไทยอาทิ สามก๊ก ไม่เช่นนั้นก็เป็นการวิจัยหรือศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของนวนิยายกำลังภายในจีนของฮ่องกงหรือไต้หวันที่เผยแพร่เข้ามาในไทย แต่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรมจีนสมัยใหม่ยังมีน้อย ดังนั้นบทความนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมแนวสัจนิยมของจีนและวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย โดยเริ่มจากกำเนิดของวรรณกรรมทั้งสองแนวดังกล่าวตลอดจนพัฒนาการของวรรณกรรมทั้งสองกระแส โดยที่มุ่งให้ความสำคัญกับความเหมือนและต่างของพัฒนาการด้านวรรณกรรมสองกระแสเป็นหลัก
The Comparative Study of Chinese Realistic Literature Trend and Thai Life’s Sake Literature Trend
From the past to present, the comparative studies between Thai and Chinese literature in Thailand can be seldom found. . As the research has found most of the information usually study about influence of Chinese classic literature in Thai such as “Three Kingdoms”,or the influence of Hong Kong or Taiwan martial arts novels in Thai, but the study about modern Chinese literature is rare. This article aimed to compare the realistic literature trend in China and “Life’s Sake” literature trend in Thailand, focusing the study of evolution in the course of their history, and more concerned about their similarities and differences throughout the development process.
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์