พระจี้กง: พระอรหันต์หรือพระสติเฟื่อง
Main Article Content
Abstract
พระจี้กงเป็นพระอรหันต์ทางศาสนาพุทธมหายานนิกายเซนฝ่ายใต้ที่ ท่านเกิดใน ตระกูลหลี่ ชื่อหลี่ซิวหยวน (李修元ค.ศ.1130 -1209) ในสมัยราชวงค์ซ่งใต้ หลังออกบวช แล้วท่านได้รับขนานนามว่า เต้าจี้ (道济) จำพรรษาอยู่ที่วัดกั๋วชิงซื่อ (国清寺) ต่อมาได้ย้าย ไปอยู่ที่วัดหลิงอิ่นซื่อ(灵隐寺)เมืองหลินอาน(临安) (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของเมืองหังโจว) เนื่องจากพระจี้กงไม่ชอบปฏิบัติตามกฎของสงฆ์ ซ้ำยังชอบรับประทานเนื้อสัตว์ ดังนั้น หลังจากท่านเจ้าอาวาสฮุ่ยหย่วนมรณภาพแล้ว จี้กงจึงต้องย้ายไปอยู่ที่วัดจิ้งฉือซิ่อ(净慈寺)
เนื่องจากพระจี้กงชอบช่วยเหลือผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก อีกทั้งเป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์มาก จนเรื่องราวของท่านได้กลายเป็นนิทานพื้นบ้านที่กล่าวขานกันสืบต่อมาตั้งแต่ ราชวงค์ซ่งจนถึงปัจจุบัน จนพระจี้กงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในจีนทางใต้ สถานที่ใดที่พระจี้กง เคยไปก็จะกลายเป็นที่ท่องเที่ยวไปด้วย
กล่าวกันว่าพระจี้กงเป็นพุทธสาวกองค์เดียวที่มีความโดดเด่นของการรวม 3 ความ เชื่อคือศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋าและขงจื้อไว้ในตัวท่านเพียงองค์เดียว ท่านจึงกลายเป็นพระ อรหันต์ที่มีผู้คนกราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งของชาวจีนใต้
แม้ว่าเรื่องเล่าพระจี้กงจะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในจีนใต้ แต่ในไทยกลับ ปรากฏศาลเจ้าจี้กงเป็นเทพประธานอยู่เพียงไม่กี่แห่ง ที่เห็นเป็นหลักฐานของความเชื่ออย่าง แท้จริงก็คือสถานธรรมสายอนุตตรธรรมอี๋ก้วนเต้าเท่านั้นที่ตั้งพระจี้กงเป็นพระประธานของ สถานธรรม แม้ว่าศิษยานุศิษย์ของสถานธรรมจะรู้จักพระจี้กงกันอย่างแพร่หลายแต่สำหรับ ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยและชาวไทยแล้วกลับรู้จักน้อยกว่าพระกวนอิม
济公(公元1130-1209)原名李修元是南宋禅宗临济派的罗汉。出 家后的前一段在国清寺修行,后移入临安灵隐寺(今是杭州一带)。济公 因多次伟反佛法,因此慧远方丈圆寂后就被迫移入净慈寺。
济公好协助贫穷虚弱者,在当时的社会上做出了不少抱不平的事儿,所 以多受庶民崇拜。他救人的事变成了民间故事,一代传一代,在浙江或其 他省都处处都听得到。同时他去过的地方也就成了当地的旅游圣地。
济公是佛教唯一的三教合一的罗汉,就是济公具有佛法修行,也有道教 的动作,更有儒教的仁爱智礼的思维。由于以上所述,济公就成为佛教最 特殊的罗汉。
济公事迹虽在中国南方传谣,但是泰国的华人庙宇,专供奉济公为主神 者极少,唯见于泰国各处的一贯道佛堂。济公虽在一贯道的佛门子弟大力 推动的情况下,在泰国华裔及泰国人的心目中崇信济公的深度还是与观世 音菩萨离得远。
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์