เตือนหญิง: วรรณกรรมสอนสตรีที่ประพันธ์ขึ้นภายใต้วัฒนธรรมขงจื๊อ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “เตือนหญิง” ซึ่งเป็นวรรณกรรมสอนสตรีเรื่องแรก ๆ ของจีน ประพันธ์ขึ้นโดยนักวิชาการสตรีนามปันเจา ผู้มีแนวคิดสนับสนุนให้สตรีได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับบุรุษ แต่ขณะเดียวกันปันเจาก็เป็นผู้มีความยึดมั่นในหลักปรัชญาขงจื๊อที่มีแนวความคิดบุรุษเป็นใหญ่ “เตือนหญิง” จึงเป็นวรรณกรรมที่แฝงไปด้วยปรัชญาขงจื๊อ จากการวิจัยพบว่า “เตือนหญิง” แฝงไปด้วยปรัชญาขงจื๊อในด้านปรัชญาปัจเจกชน ปรัชญาสังคม ปรัชญาจริยธรรม และปรัชญาการศึกษา เว้นเพียงด้านปรัชญาการเมืองที่ไม่ถูกกล่าวถึง ผู้เขียนใช้กลวิธีหลากหลายในการโน้มน้าวใจผู้อ่านให้ปฏิบัติตามคาสอนในวรรณกรรม แต่เนื่องจากเนื้อหาภายใน “เตือนหญิง” ยังไม่ครบถ้วนครอบคลุมเพียงพอ จึงทาให้เกิดการประพันธ์วรรณกรรมสอนสตรีเรื่องอื่น ๆ ขึ้นเพื่อหวังเป็นแนวทางการปฏิบัติตนอย่างสมบูรณ์ให้แก่สตรีในยุคต่อ ๆ มา อย่างไรก็ดี ชาวจีนในยุคใกล้ปัจจุบันและยุคปัจจุบันมีความเห็นว่า “เตือนหญิง” เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมสอนสตรีที่ทาให้สตรีจีนต้องยอมจานนต่ออานาจของบุรุษมาอย่างยาวนาน และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ แต่อย่างไรก็ดี วรรณกรรมสอนสตรีก็มีส่วนช่วยในการรักษาไว้ซึ่งความสงบสุขของสังคมมาแต่โบราณ
Article Details
Section
Articles
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์