การตีความนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินในทัศนคติของจีน
Main Article Content
Abstract
สมัยอดีตนักวิชาการจีนไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสกับความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี เเละวัฒนธรรมไทย จึงไม่่ค่อยเข้าใจวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือการเรียนรู้ยังมีช่องทางที่ไม่มากนัก นวนิยายไทยเรื่องสี่เเผ่นดิน ในประเทศจีน คนจีนมักจะตีความภายใต้ทัศนคติ ความคิด เเละความเชื่อเเบบจีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดการต่อต้านระบบศักดินาเเละความคิดโลกียะนิยมของลัทธิขงจื้อ ซึ่งจะเห็นจากแก่นเรื่องของเรื่องสี่เเผ่นดิน ที่เเสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของครอบครัวชนชั้นสูงเเละระบบศักดินาของไทย การตีความโดยทัศนคติของจีนสะท้อนให้เห็นจากสองประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง คือวัฒนธรรมราชสานักของไทยที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ประเด็นที่สองคือประเพณีการบวชในพระพุทธศาสนาของไทย ปัจจุบันการตีความของนักวิชาการจีนรุ่นเก่า ๆ ยังส่งผลกระทบต่อนักวิชาการจีนรุ่นใหม่ ๆ
Article Details
Section
Articles
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์