แนวคิดการเปลี่ยนแปลงถัง-ซ่งกับกระบวนทัศน์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์จีน
Main Article Content
Abstract
บทความนี้อธิบายแนวคิดการเปลี่ยนแปลงถัง-ซ่ง ซึ่งเป็นสมมติฐานการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีนโดยนักวิชาการญี่ปุ่นสานักเกียวโตที่เสนอว่า ตั้งแต่กลางราชวงศ์ถังจนถึงราชวงศ์ซ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงจากยุคกลางเก่าไปสู่ยุคต้นสมัยใหม่ในประวัติศาสตร์จีน การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลนี้มีทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและคุณค่าทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน บทความนี้ก็ได้สำรวจงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการเปลี่ยนแปลงถัง-ซ่งในประเทศญี่ปุ่น จีนและอเมริกา จากนั้นจึงนำไปสู่การอภิปรายความสำคัญ อิทธิพล และข้อถกเถียงของแนวคิดนี้ ซึ่งส่งผลต่อ กระบวนทัศน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์จีน
Article Details
Section
Articles
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์