พินิจคำพิพากษาฉบับพากย์จีนสองสำนวน : การศึกษาเปรียบเทียบ

Main Article Content

บุรินทร์ ศรีสมถวิล

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบการ“ก้าวข้าม”และการ“ก้าว‘ไม่’ข้าม”ความเป็นอื่นด้านกลวิธีการใช้คำและการใช้ภาพพจน์ในวรรณกรรมไทยเรื่อง คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติกับคำพิพากษาฉบับพากย์จีนทั้งสองสำนวน ผลการศึกษาพบว่า ผู้แปลคำพิพากษาฉบับพากย์จีนทั้งสองสำนวนสามารถ“ก้าวข้าม”ความเป็นอื่นด้านการใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี บทแปลไม่เพียงแต่สอดคล้องกับประสบการณ์การอ่านของคนจีน ทั้งยังกลายเป็นวรรณกรรมจีนที่ผู้อ่านชาวจีนรับอรรถรสตามรูปแบบบันเทิงคดีจีนได้อีกด้วย ขณะเดียวกันยังรักษาลีลาของผู้ประพันธ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพบประเด็นที่ผู้แปล“ก้าว‘ไม่’ข้าม”ความเป็นอื่นด้านการใช้ภาษาในบางประเด็น สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้แปลแปลคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับหรือไม่สามารถเลือกใช้บทแปลที่ตรงกับเจตนารมณ์ของชาติ กอบจิตติได้นั้น คือ ผู้แปลทั้งสองฉบับไม่ได้ศึกษากลวิธีการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์คือชาติ กอบจิตติก่อนที่จะลงมือแปล อีกสาเหตุหนึ่งคือคำพิพากษาฉบับพากย์จีนทั้งสองฉบับไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจแก้ไขจากบรรณาธิการซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและวัฒนธรรมไทย-จีนก่อนตีพิมพ์เผยแพร่

Article Details

Section
Articles
Author Biography

บุรินทร์ ศรีสมถวิล

สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานครฯ 10400