การศึกษาการเรียนรู้ความหมายของอักษรประสมบอกความหมายและเสียงของนักศึกษาเอกวิชาภาษาจีน
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้และพัฒนาการในการเรียนรู้ความหมายของอักษรประสมบอกความหมายและเสียงของนักศึกษาเอกวิชาภาษาจีน และเสนอแนะแนวทางในการเรียนการสอนตัวอักษรจีนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตัวอักษรจีนของนักศึกษาเอกวิชาภาษาจีน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 เอกวิชาภาษาจีนจำนวน 123 คนจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และนำข้อมูลมาจัดระดับการเรียนรู้ พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะการเรียนรู้ความหมายของอักษรประสมบอกความหมายและเสียงของนักศึกษาเอกวิชาภาษาจีนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยเรียงจากระดับการเรียนรู้ที่สูงสุดไปจนถึงต่ำสุด ดังนี้ การเดาความหมายจากส่วนบอกความหมายโดยตรง การเดาความหมายจากตัวอักษรหรือความหมายใกล้เคียง การเดาความหมายจากส่วนบอกเสียง และการเดาความหมายโดยไม่มีหลักการ 2. ระดับความรู้ภาษาจีนมีผลต่อการเรียนรู้ความหมายของอักษรประสมบอกความหมายและเสียง เมื่อระดับความรู้ภาษาจีนเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ความหมายก็จะมีแนวโน้มที่มีระบบมากยิ่งขึ้น 3. การเรียนรู้ความหมายของอักษรประสมบอกความหมายและเสียงของนักศึกษามีพัฒนาการค่อนข้างช้า โดยในช่วงชั้นปีที่ 1 ยังขาดระบบและหลักการในการเรียนรู้ความหมาย ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ส่วนบอกความหมายในการเดาความหมายของตัวอักษร ในช่วงชั้นปีที่ 2 เริ่มมีการจัดระบบการเรียนรู้ความหมาย และเริ่มสามารถแยกส่วนบอกความหมายออกจากอักษรประสมบอกความหมายและเสียงได้มากขึ้น ส่วนในช่วงชั้นปีที่ 3 มีลักษณะการเรียนรู้เหมือนกับช่วงชั้นปีที่ 2 และยังไม่สามารถพัฒนาถึงระดับที่ชำนาญ
Article Details
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์