บทวิเคราะห์วาทกรรมว่าด้วยวรรณกรรมของหูซื่อ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งอภิปรายวาทกรรมว่าด้วยวรรณกรรมซึ่งปรากฏในผลงานของหูซื่ออยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ “วรรณกรรมเป็น” “วรรณกรรมตาย”และ “ภาษาแห่งชาติ” โดยทาการศึกษาจากข้อเขียนที่มีเนื้อหาว่าด้วยวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของเขา 3 ชิ้น ดังนี้ “ข้อเสนอสู่การปฏิรูปวรรณกรรม” “บทอภิปรายการปฏิวัติวรรณกรรมเชิงสร้างสรรค์” และ “วรรณกรรมจีนในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา” วาทกรรมทั้ง 3 ประการดังกล่าวของหูซื่อได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอุดมการณ์ของรัฐในที่สุด ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า การที่วาทกรรมของปัจเจกบุคคลจะได้รับการยอมรับถึงขั้นที่ได้สถาปนาขึ้นเป็นอุดมการณ์ของรัฐนั้น จาเป็นต้องผ่านการต่อสู้ช่วงชิงพื้นที่ทางความหมายเพื่อสถาปนาคุณค่าบางประการขึ้นในการรับรู้ของผู้คนในสังคม จนสามารถกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนยึดถือว่าเป็น “ความจริง” ได้ในที่สุด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างจากเจตนารมณ์ของคนบางกลุ่มที่มีอานาจในการสร้างความหมาย มิได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างที่มักเข้าใจกัน ด้วยเหตุนี้ วาทกรรมว่าด้วยวรรณกรรมทั้ง 3 ประการของหูซื่อจึงถือเป็นสิ่งประกอบสร้างตามเจตนารมณ์ของเขาที่สอดคล้องกับบริบทสังคมจีนช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูปภาษาจีน เพื่อนาไปสู่การสร้างรัฐชาติที่เข้มแข็ง
Article Details
Section
Articles
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์