การศึกษาวิธีการฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนกลางให้ถูกต้อง กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
Main Article Content
Abstract
ภาษาจีนและภาษาไทยต่างก็เป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ โดยภาษาจีนมี 4 เสียงและภาษาไทยมี 5 เสียง การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนและภาษาไทยมีทั้งความคล้ายและความต่างกัน เมื่อนักเรียนไทยเรียนเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนมักจะได้รับอิทธิพลจากภาษาไทย โดยเสียงวรรณยุกต์ภาษาแม่ของนักเรียนไทยมีการถ่ายโอนทางลบต่อการเรียนเสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีน ในการเรียนภาษาจีนนักเรียนไทยส่วนใหญ่สามารถแยกแยะเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนกลางได้อย่างชัดเจน แต่เนื่องจากได้รับอิทธิผลการถ่ายโอนทางลบจากภาษาแม่ นักเรียนไทยบางคนเกิดความผิดพลาดในการออกเสียงและเสียงวรรณยุกย์จีนกลาง เมื่อเรียนวรรณยุกต์ภาษาจีนกลางจะออกเสียงวรรณยุกต์จีนเป็นวรรณยุกต์ไทยและกลายเป็นสาเนียงพิเศษของคนไทย ดังนั้นจะพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาจีนของนักเรียนไทยอย่างไรให้ออกเสียงได้ถูกต้อง จุดประสงค์การวิจัยของบทความนี้คือศึกษาพิจารณาว่าจะให้นักเรียนไทยเรียนรู้เสียงวรรณยุกต์จีนกลางได้อย่างถูกต้องในเวลาที่กาหนดในห้องเรียนภาษาจีนของนักเรียนชาวต่างชาติได้อย่างไร บทความนี้ใช้การวิเคราะห์ความผิดพลาดของเสียงวรรณยุกต์จีนกลาง ซึ่งก็คือการวิเคราะห์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้ภาษาที่สอง และหารู้แบบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของผู้เรียนรวมถึงการหาประเภทความผิดพลาดและสาเหตุที่เกิดความผิดพลาดเป็นต้น ในการวิเคราะห์ความผิดพลาดนอกจากการใช้วิธีดั้งเดิมที่ใช้การบอกระดับเสียงสูงต่า 5 ระดับเพื่อเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของทั้งสองภาษาและ ยังใช้ทฤษฎีการรับภาษาของแครชเชน ซึ่งก็คือสมมติฐานตัวป้อน(The Input Hypothesis)เพื่อเสนอว่าจะฝึกให้นักเรียนไทยออกเสียงวรรณยุกต์อย่างถูกต้องได้อย่างไรในการเรียนภาษาที่สอง อีกทั้งยังเพิ่มความน่าสนใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนไทย ข้อสรุปของบทความนี้อาศัยประสบการณ์การสอนภาษาจีนให้นักเรียนชาวต่างชาติของผู้เขียน โดยเฉพาะประสบการณ์ด้านการสอนวิชาสนทนาภาษาจีนให้นักเรียนชาวต่างชาติกว่าสิบปีของผู้เขียน
Article Details
Section
Articles
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์