สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี

ผู้แต่ง

  • กิตติชัย เทียนไข

คำสำคัญ:

สมรรถนะของผู้บริหาร, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน 22 คน ครูผู้สอน จำนวน 295 คน รวมทั้งสิ้น 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) สมรรถนะของผู้บริหาร ด้านการวิเคราะห์สังเคราะห์ ด้านการสื่อสารและจูงใจ และด้านการบริการที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของผู้บริหาร พบว่า ผู้ปกครองที่เข้ามาติดต่อราชการมีความต้องการแตกต่างกัน รองลงมาคือผู้บริหารบางส่วนวางตัวไม่เป็นกลาง

References

ขุนวัง ณ วงศ์ศรี. (2552). การศึกษสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

จิรศักดิ์ จะยันรัมย์. (2550). สมรรถนะของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของระบบประกันคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทศนิมิตรการพิมพ์.

ปิยะดา วงษ์ปัญญา. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อประสิทธิผลทางการบริหาร ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิเชษฐ์ วายุวรรธนะ. (2550). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยิ่งยศ พละเลิศ. (2550). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชษารัตน์ ธรรมะรัตน์จินดา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมหวัง พิริยานุวัฒน์ และคณะ. (2543). สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับใบประกอบวิชาชีพครู. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2552). กฎหมายและหนังสือเวียน ก.ค.ศ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2547). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พรินท์.

สุธาสิณี กูลกิจตานนท์. (2551). ประสิทธิผลของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุพล วังสินธ์. (2545). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา. วารสารวิชาการ. ปีที่ 5(6).

อุ่นเรือน อ่ำบุญ. (2558). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Blancero, D., Olivas-Lujan, M., & Stone, D. L. (2014). Introduction to Hispanic and Latin American work issues. Journal of Managerial Psychology 29(6).

Hoy, Wayne K. and Cecil G. Miskel, (2008). Education Administrations: Theory Research and Practice. (8th Edition). Singapore: McGraw-Hill Inc.

John W. Best. (1997). Research in Education. (8th Edition). Toledo, OH: Pro Quo Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28