ผลของการใช้สื่อสภาพจริงในการพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3
คำสำคัญ:
ความสามารถด้านการฟัง, สื่อสภาพจริง, ภาษาญี่ปุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้สื่อสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฟังภาษาญี่ปุ่น 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้สื่อสภาพจริง ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฟังภาษาญี่ปุ่น 2 โดยมีประชากรเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ศึกษาวิชาการฟังภาษาญี่ปุ่น 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 14 คน ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมเป็น 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังภาษาญี่ปุ่นโดยใช้สื่อสภาพจริง จำนวน 5 แผน แบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่อสภาพจริง จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบทักษะการฟัง และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สื่อสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฟังภาษาญี่ปุ่น ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการฟังภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ 14.84 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการฝึกการฟังภาษาญี่ปุ่นโดยใช้สื่อสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.56)
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ฐิติภัสร์ วัฒธาจารุเกียรติ, มณฑา จาฏพจน์ และพนิดา สุขศรีเมือง. (2557). ปัญหาในการฟังและการใช้กลวิธีที่ช่วยในการฟังของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 6(11).
ธิติสรณ์ แสงอุไร. (2555). การประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นของตนเองของบัณฑิตที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่น. วารสารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ. ฉบับที่ 9.
ธีรวัฒน์ โคตรหานาม และไพสิฐ บริบูรณ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้คลิปภาพยนตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะในการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 8(23).
มณีรัตน์ กรรณิกา และอภิราดี จันทร์แสง. (2560). การพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้รายการโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ปีที่ 11(2).
รมินตรา วรงค์ปกรณ์, ศศิธร อินตุ่น และยุพิน อินทะยะ. (2559). การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิจัย. ปีที่ 7(1).
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข และพัชราพร แก้วกฤษฎางค์. (2562). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารญี่ปุ่นศึกษา. ปีที่ 36(1).
เสาวลักษณ์ พงษ์สุผล. (2551). ผลของการใช้เพลงเพื่อพัฒนาทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 24(2).
โสภิต สุวรรณเวลา. (2563). ผลการพัฒนาทักษะการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษโดยการชมภาพยนตร์และฟังเพลงของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ.
Buck, G. (2001). Assessing Listening. Cambridge: Cambridge University Press.
Citra Dewi, R. (2018). Utilizing Authentic Materials on Students’ Listening Comprehension: Does it have Any Influence. Advances in Language and Literary Studies. Vol 9(1).
Junjie, S., Nishihara, Y., & Yamanishi, R. (2018). A System for Japanese Listening Training Support with Watching Japanese Anime Scenes. Procedia Computer Science.
Parupalli Srinivas Rao. (2019). The Effective Use of Authentic Materials in the English Language Classrooms. International Journal of Arts, Science and Humanities. Vol 7(1).
Renukadevi, D. (2014). The Role of Listening in Language Acquisition; the Challenges & Strategies in Teaching Listening. International Journal of Education and Information Studies. Vol 4(1).