ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ บริบาล หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, พนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ), การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในงาน (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการ และความผูกพันต่อองค์การ กับความพึงพอใจในงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 305 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือด้านการจูงใจ ด้านการจัดองค์การ ด้านการควบคุม และด้านการวางแผน ตามลำดับ (2) พนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านบรรทัดฐาน ด้านความคงอยู่กับองค์การ และด้านจิตใจตามลำดับ (3) พนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ) มีความพึงพอใจในงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจในงาน อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือด้านลักษณะงาน ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า ด้านค่าตอบแทน ผลประโยชน์ สวัสดิการ ด้านเพื่อนร่วมงาน ด้านผู้บังคับบัญชา และด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ (4) การบริหารจัดการ โดยรวม มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5) ความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน (สายสนับสนุนวิชาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

References

กัลยาลักษณ์ อุทัยจันทร์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐานารี สุขประเสริฐ. (2554). การบริหารจัดการที่มีผลต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการร้านอาหารริมแม่น้ำในเขตเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา.
เทพโยธิน นิลาด. (2550). ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ไทยมารูจูน จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา.
ปิยศักดิ์ สุขกาย. (2550). การบริหารจัดการที่มีผลต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บริการระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (ในพระบรมราชูปถัมภ์). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2541). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พิมพิภา แซ่ฉั่ว. (2553). ความก้าวหน้าในงาน ความมีอิสระในงาน ความผูกพันในงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานที่ดินจังหวัดในเขตชายฝั่งทะเลอันดามัน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พัชรา ทาหอม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วราภรณ์ หนูดำ (2548). การบริหารจัดการที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน บริษัท เวสเทริน ดิจิตอล (บางปะอิน) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2540). หน้าที่ทางการบริหาร. เชียงใหม่: ดาว.
ศิริลักษณ์ ประทุมมาศ. (2551). ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของลูกค้า ที่มาใช้บริการสำนักงานภิญญนันท์บริการบัญชีและภาษีอากร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหาร. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาร (ดอกหญ้า).
สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. (2546). หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เสถียร สถิรนุสรณ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุชาดา ยงสกุลโรจน์. (2547). สภาพการบริหารจัดการและความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการแผนกวิทยบริการของโรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุพจน์ ประกิจจานุรักษ์. (2554). การบริหารจัดการที่มีผลต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2543). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรี.
อิศเรศร์ ไชยะ. (2553). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Buchanan. (2002). “Building Organization Commitment: The Socialization Manager in Work Organization.” Administrative Science Quarterly.
David, K. (1972). Human behavior at of world-man Relations and Organization Behavior. New York: McGraw-Hill.
Feldman, D. C. and Arnold, H. J. (1983). Managing individual and group behavior in organization. Singapore: McGraw-Hill.
Herzberg, F. (1959). The motivation of work. New York: John Wiley & Sons.
Herzberg, F. and Others. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.
Keith, D. & Newstrom, J. W. (1985). Human Behavior at work: Organizational Behavior. New York: Harper and Row.
Schofeild, H. (1972). The Philosophy of Education: An Introduction. London: George allen and Unwin.
Steers, R .M., & Porter, L. W. (1979). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill.
Yamane´, T. (1970). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-27