ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐานในประเทศไทย: บุพปัจจัยและผลลัพธ์

ผู้แต่ง

  • วรศักดิ์ ทองศิริ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม, ศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐาน, ประสิทธิผลของศูนย์ซ่อมฯ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุของความพร้อมของบุคลากร ความพร้อมของสถานประกอบการ การสนับสนุนจากภาครัฐ ที่มีต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และประสิทธิผลของศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐานของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ รวมทั้งสิ้น 207 แห่ง ผลการวิเคราะห์พบว่า แบบจำลองทางเลือกสามารถใช้อธิบายโครงสร้างความสัมพันธ์ได้ดี มีค่าดัชนีความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า Chi-Square = 139.80, df = 141, GFI = 0.94, RMR = 0.23, RMSEA = 0.0000, CFI = 1.00 และ CN = 262.38 โดยพบรูปแบบความสัมพันธ์ในโมเดลโครงสร้างดังนี้ (1) การสนับสนุนจากภาครัฐมีอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมของสถานประกอบการและการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของบุคลากร (2) ความพร้อมของสถานประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมของบุคลากรและการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐาน (3) ความพร้อมของบุคลากรมีอิทธิทางตรงต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและประสิทธิผลของศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐาน และ (4) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีอิทธิทางตรงต่อประสิทธิผลของศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐาน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2551). แนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2553). โครงการอู่สีเขียว. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2553, จาก http://www.green.in.th/blog/business/1085
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน. (2551). โครงการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ที่ใช้แกสโซฮอล์. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ.
เขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
จันทร์นา สงวนรุ่งวงศ์. (2543). ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ธเรศ ศรีสถิต. (2549). ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001: 2004. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.
ประสาน ดาราเย็น. (2546). ทัศนคติของพนักงานต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 บริษัทไทยเกอร์แอโรว์ จำกัด (โรงงานฉะเชิงเทรา). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2543). คุณภาพ คือความอยู่รอด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
วินิจ เทือกทอง. (2551). สมการโครงสร้าง. วารสารสวนสุนันทาวิจัย, 4(2), 5-7.
สถาบันเพิ่มผลิตผลิตแห่งชาติ. (2541). Environment & ethics = สิ่งแวดล้อม & จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001. กรุงเทพฯ: ประชาชน.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และอิสร์กุล อุณหเกตุ. (2549). FTA ไทย-สหรัฐอเมริกา: ผลได้ ผลเสีย และข้อเสนอแนะ. กรุงเทพฯ: โครงการ WTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก).
สยาม อรุณศรีมรกต และวรพร สังเนตร. (2548). การศึกษาศักยภาพในการประยุกต์ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของศูนย์ซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์มาตรฐานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2550). ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก. 14001:2548. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007, จาก http://www.masci.or.th/TH/service/scd/Pages/iso14001.aspx
สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2551). มาตรฐาน ISO 14001 version ใหม่ ISO 14001:2004. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2551, จาก http://internet1.off.fti.or.th/iei/webdatas/service /iso14001.pdf
สุนารี วีระสวัสดิ์รักษ์. (2540). ความสำคัญของ ISO 14000 ต่ออุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
Ames, M. (1993). Introduction to ISO 9000 hot to implement the process. Overland Park, Kan.: Workforce Learning Systems.
Armstrong, S., & Kotler, P. (2003). Marketing: an introduction. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.
Arimura, H. T., Hibiki, A., & Katayama, H. (2008). Is a voluntary approach an effective environmental policy instrument: A case for environmental management systems. Journal of Environmental Economics and Management, 55, 281-295.
Brouwer, A. C., & Koppen, V. (2008). The soul of the machine: continual improvement in ISO 14001. Journal of Cleaner Production, 16, 450-457.
Culley, W. C. (1998). Environmental and quality systems integration. Boca Raton, FL: Lewis.
Hubbard, L. R. (2000). Advanced procedure & axioms. Kopenhagen K: NEW ERR Publication International ApS.
Karapetrovic, S., & Casadesu, M. (2009). Implementing environmental with other standardized management systems: Scope, sequence, time and integration. Journal of Cleaner Production, 17, 533-54.
Karltun, J. (1998). Working conditions and effects of ISO 9000 in six furniture-making companies: implementation and processes. Applied Ergonomics, 29, 225-232.
Mohamed, S. T. (2001). The impact of ISO 14000 on developing world businesses. Renewable Energy, 23, 579-584.
Reilly, O. M., & Wathery, D. (2000). ISO 14031: Effective mechanism to environmental performance evaluation. Corporate Environmental Strategy, 7, 267-275.
Tibor, T., & Feldman, I. (1997). Implementing ISO 14000: a practical, comprehensive guide to the ISO 14000 environmental management standards. Chicago: Irwin.
Tietjen, A. M., & Myers, M. R. (1998). Motivation and job satisfaction. Management Decision, 36, 224-226.
Valente, T. M., & Rogers, E. M. (1995). The Origins and Development of the Diffusion of Innovations Paradigm as an Example of Scientific Growth. Science Communication, 16(3), 242-273.
Walz, B. J. (2002). Introduction to EMS systems. Australia: Delmar.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-10