การควบคุมต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อัมภิกา ศรีบุญเรือง นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การควบคุมต้นทุน, ผู้ประกอบธุรกิจ, รับเหมาก่อสร้าง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการควบคุมต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม และ (2) เปรียบเทียบการควบคุมต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม จำแนกตามขนาดของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจและลักษณะงานรับเหมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม ที่ดำเนินธุรกิจจริง จำนวน 62 ราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) การควบคุมต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม ในด้านต้นทุนวัสดุ ด้านต้นทุนแรงงาน ด้านต้นทุนเครื่องมือเครื่องจักร ด้านต้นทุนผู้รับเหมาช่วง และด้านต้นทุนดำเนินการ โดยรวมและรายด้านเป็นแนวทางที่ใช้อยู่ในระดับปานกลาง (2) ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม ที่มีขนาดของธุรกิจต่างกัน มีการควบคุมต้นทุน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ ทั้ง 5 ด้าน มีด้านต้นทุนแรงงาน ด้านต้นทุนวัสดุ และด้านต้นทุนเครื่องมือเครื่องจักร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการควบคุมด้านต้นทุนการดำเนินการและด้านต้นทุนผู้รับเหมาช่วงแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม ที่มีประเภทของธุรกิจ และลักษณะงานรับเหมาต่างกัน มีการควบคุมต้นทุนโดยรวมและรายด้าน ในด้านต้นทุนวัสดุ ด้านต้นทุนแรงงาน ด้านต้นทุนเครื่องมือเครื่องจักร ด้านต้นทุนดำเนินการและด้านต้นทุนผู้รับเหมาช่วงแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คมสัน เวนานนท์. (2545). ช่างควบคุมงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.
ธงชัย สันติวงษ์. (2545). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
บุญฤทธิ์ วัตรภูเดช. (2553). กรณีศึกษาการจัดการในบริษัทก่อสร้างขนาดเล็กที่จัดตั้งใหม่. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกอบ บำรุงผล. (2542). การบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ประถม ศิริวงศ์วานงาม. (2550). การศึกษาการเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารเครื่องจักรในงานก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนม ภัยหน่าย. (2538). การบริหารงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส.
วิชัย ศรีสะอ้าน. (2544). การวางแผนงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุพัตรา วีรปรีชาเมธ. (2545). การวิเคราะห์ระบบการควบคุมต้นทุนในโครงการก่อสร้างขนาดกลาง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โสภณ แสงไพโรจน์. (2539). “หน่วยที่ 3 วัสดุและแรงงาน.” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการก่อสร้างขนาดใหญ่หน่วยที่ 1-7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-10