การพัฒนาเมืองน่าอยู่โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: เทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, เมืองน่าอยู่, กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการพัฒนาเมืองน่าอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ หัวหน้าครอบครัวในชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จำนวน 380 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาเมืองน่าอยู่โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล จำแนกรายได้ตามขั้นตอนการมีส่วนร่วมในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยของข้อมูลในการมีส่วนร่วมระดับมาก ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของบุคคลพบว่า เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และตำแหน่งในคณะกรรมการชุมชน กับการพัฒนาเมืองน่าอยู่โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่า ปัจจัยการพัฒนาเมืองน่าอยู่โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเทศบาลเมืองลพบุรี ประกอบด้วย 8 ปัจจัย ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมวางแผนและประชาสัมพันธ์มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนปัจจัยในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านกายภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการบริหารจัดการในการจำแนกตามรายได้ของการพัฒนาเมืองน่าอยู่ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
References
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ สร้างสรรค์ จำกัด.
ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยาการ. (2540). แนวคิดและหลักการดำเนินงานเมืองน่าอยู่. เอกสารประกอบการอบรมโครงการเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545) การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นจัดพิมพ์.
มงคลเลิศ ด่านธานินทร์. (2551). หลักคิดชาตินิยมและมรดกวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมทันสมัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการบริหารการพัฒนา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2550). การเมืองโลกที่สาม: ทฤษฎีการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, (บรรณาธิการ). (2539). บ้านของเราทำเมืองไทยให้น่าอยู่และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ข่ายความร่วมมือเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาไทย (TEDNET).
สมบัติ อุยตระกูล และคณะ. (2543). รายงานการศึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการเมืองน่อยู่เขตภาคตะวันออก. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม เขต 3.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2549). สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุชาต ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2544). นานานวัตกรรมวิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
สุดใจ ทูลพานิชยบ์กิจ. (2547). หลักการพัฒนาเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ. (2543) แนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.
สำนักงานเทศบาลนครราชสีมา. (2544). เมืองคุณย่าน่าอยู่ 3. นครราชสีมา: สี่สี.
องอาจ นัยพัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
อมรา พงศาพิชญ์. (2547). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2549). กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลง: จากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.).
อาคม ใจแก้ว. (2551). การบริหารการพัฒนาเมือง: แนวคิด ทฤษฎีและปรากฏการณ์. สงขลา: แม็กซ์มีเดีย วาย 2 เค เพรส จำกัด.
อัฐมา โภคาพาณิชวงษ์. (2546). การรื้อฟื้นเมืองน่าอยู่: การโหยหาอดีตและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของชนชั้นกลาง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
Christensen, T. (1996). Local Politics Governing At The Grassroots. Belmont California: Wadsworth Publishing Company.
Turner, J. H. (2006). Sociology. New Jersey: Prentice Hall.
World Health Organization. (1995). Twenty steps for developing healthy cities project. Region office for Europe (2nd ed.). Geneva: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว