บุพปัจจัยของความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้แต่ง

  • ศรีพงษ์ บุตรงามดี นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการจัดการศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, การถ่ายโอนสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มุ่งศึกษาตัวแปรที่เป็นบุพปัจจัยของความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการสำนัก/กองการศึกษาสังกัดเทศบาล จำนวน 600 ตัวอย่าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปัจจัยด้านศักยภาพในการจัดการศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านประชาชนผู้รับบริการ โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.81 ขณะที่ปัจจัยด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยด้านศักยภาพในการจัดการศึกษา และปัจจัยด้านประชาชนผู้รับบริการ มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านปัจจัยด้านประชาชนผู้รับบริการ โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.92 การวิจัยครั้งนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า การเพิ่มความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้องมีการเจรจา สื่อสาร กับผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง

References

กมล สุดประเสริฐ. (2544). รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2549). การจัดการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
ณรงค์ชัย หงสารกุล. (2543). การประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7. กำแพงเพชร: สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร.
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). พฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2543). สรุปสาระสำคัญร่างรายงานวิจัยเรื่องบทบาท โครงสร้าง หน้าที่ และความสัมพันธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เอกสารนำเสนอในการประชุมสรุปผลโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น, โรงแรมจุลดิศ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา.
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. (2526). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พีระพัธนา.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2550). ความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เรวัติ สมบัติทอง. (2543). การศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดภูเก็ต. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมหวัง คันธรส. (2543). การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ม.ป.ท.
สิริมา สมบูรณ์สิน. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แดงจักรศรี. (2545). การศึกษาความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาทางไกลของกรมอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุวรรณ พิณตานนท์. (2551). การอุดหนุนงบประมาณให้แก่โรงเรียน สพฐ. กรุงเทพฯ: สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
อนันต์ ทะตา. (2544). การศึกษาความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา พื้นที่จังหวัดตาก. กำแพงเพชร: สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร.
เอกรัตน์ ฉุงน้อย. (2544). ภาวะความพร้อมในการรับการถ่านโอนอำนาจสู่ท้องถิ่น: ศึกษาจากความคิดเห็นของคณะเทศมนตรีในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Attitude and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Carmines, E. G., & Zeller, R. A. (1978). Reliability and Validity Assessment. Beverly Hills, CA: Sage.
Clarke, J. J. (1957). Outline of Local Government of the United Kingdom. London: Sir Issac Pitman & Son.
Downing, J., & Thackrey, D. (1971). Reading Readiness. London: University of London Press.
Fitzgerald, T. H. (1988). Can change in organizational culture really be managed ? Organizational Dynamics, 17, 4-15.
Glidewell, J. C. (1886). Corporate cultures: Research implications for human resource development. Alexdria, VA: American Society for Training and Development.
Holloway, W. V. (1951). State and Local Government in The United State. New York: McGraw-Hill.
Hoy, W. K., John, Tarter C., & Louise, Witkoskie. (1992). “Faculty Trust in Colleagues: Linking the Principal with School Effectiveness. Journal of Research and Development in Education, 26(1), 38-45.
Montagu, H. G. (1984). Comparative Local Government. Great Britain: William Brendon and Son.
Robson, W. A. (1953). Local Government in Encyclopedia of Social Science. New York: Macillan.
Steward, T. A. (1994). Intellectual Capital. London: Nicholas Breakley Publishing.
Tabachnick, A., & Fidell, J. (1996). Using multivariate statistics (3rd ed). New York: Harper Collins College Publishers.
Vroom, V. H., & Porter, L. W. (1964). Work and Motivation. New York: John Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-09