ความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสามารถด้านการแข่งขัน, อุตสาหกรรมไมซ์, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ และ (2) แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการสถานที่จัดงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) จำนวน 20 ราย ผลการวิจัยพบว่า (1) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกมีความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมไมซ์ โดยมีความสามารถด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดประชุมขนาดเล็ก (Meeting) ด้านการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibition) และด้านการประชุมชนาดใหญ่ (Conference) ตามลำดับ และ (2) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จและผลักดันให้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็น “นครแห่งไมซ์” คือ นโยบายการพัฒนาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม และการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการรองรับการขยายตัวและรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ โดยกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์คือ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ รองลงมาคือ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกบอการและบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ และการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ ตามลำดับ

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). รายงานวิสัยทัสน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กุลลดา ค้าสุวรรณ. (2559). โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://m.prachachat.net/news_detail.php?
จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน. (2559). การท่องเที่ยวสานพลังประชารัฐ ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.prd.go.th/download/article/article_20160513085559.pdf
เทวีวรรณ ปทุมพร. (2547). ปัจจัยความสำเร็จของอุตสาหกรรมการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการแสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนาคารกสิกรไทย. (2560). ภาคท่องเที่ยวปี 59 ดันรายได้ 17% ของจีดีพี. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://aecplusadvisory.askkbank.com/TH/Thailand/FlashNews/Pages/Thailand_news_20170222_2.aspx
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2554). ธุรกิจไมซ์ (ธุรกิจจัดประชุมขององค์กร ธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ธุรกิจการจัดประชุมนานาชาติ ธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้า) = Mice business. กรุงเทพฯ: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้ง.
ฝ่ายการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร. (2560). Thailand’s MICE Industry Strategy in FY 2017. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).
พิมพิมล พลเวียง. (2543). ศักยภาพและผลในการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารงานของสถานสงเคราะห์เด็กในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์. ภาคนิพน์พัฒนาสังคมมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เพชรน้อย ม่วงงาม. (2539). ศักยภาพของชุมชน กรณีการจัดตั้งหมู่บ้านปลอดภัย จังหวัดสุพรรณบุรี. ภาคนิพนธ์พัฒนาสังคมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 19 ง.
เรวดี แก้วมณี. (2557). จับตาระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรากลุ่มจังหวัดเป้าหมายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.oie.go.th/article/
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2532). ศักยภาพสำคัญอย่างต่อแหล่งท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว, 8(2): 42-45.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559)ก. โรงแรม ทัวร์ บูมรับกระแสท่องเที่ยวโต. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/HotelTourGrowthTourismTrend.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559)ข. ระเบียงเศณษฐกิจภาคตะวันออก (EEC): นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://rss.thaichamber.org/upload/fspsckyuzo103120169812.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 7 ม.ค.-มี.ค. 2560. กรุงเทพฯ: เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์.
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมนิทรรศการ สสปน. (องค์การมหาชน). (2552. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจสถิติการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดแสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).
อรรคพล สรสุชาติ. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติ และงานแสดงสินค้านานาชาติ (ไมซ์) ของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชีย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
Keeves, P. J. (1988). Educational research, methodology and measurement: An international handbook. Oxford: Pergamon Press.
Thaipublica. (2559). วิจัยกรุงศรี ชี้การแผนลงทุน EEC หนุน 3 ธุรกิจเป้าหมาย 4 ธุรกิจต่อเนื่อง ดันเศรษฐกิจภาคตะวันออกโตแรงนับจากปี’61. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://thaipublica.org/2016/11/krungsri-research-eec/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-09