ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายการดำเนินงานสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พิชญ์กานต์ ปรีเปรม นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, สวัสดิการสังคม

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสำเร็จต่อการนำนโยบายการดำเนินงานสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายการดำเนินงานสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไปปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้ใช้ผู้สูงอายุในพื้นที่บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาง จำนวน 720 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (TaroYamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 257 คน จากการสุ่มแบบมีชั้นเชิง การเก็บตัวอย่างใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ มัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติอ้างอิงได้แก่ สหสัมพันธ์เพียสัน และการถดถอยเชิงพหุ  ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) ความสำเร็จของการนำนโยบายการดำเนินการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายการดำเนินการสวัสดิการสังคม ของผู้สูงอายุไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับปานกลาง ค่อนข้างต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายการดำเนินการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุไปปฏิบัติ สามารถอธิบายความผันแปร ความสำเร็จของการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติได้ร้อยละ 33.5 โดยมีสมการตัวแปรที่อธิบายความสามารถดังกล่าว 5 ตัวแปร

References

กรมประชาสงเคราะห์. (2541). รายงานประจำปีกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. กรมประชาสังเคราะห์, กรม.
วันทนีย์ วาสิกะสินธุ์ และนนทพัฒน์ ปัทมดุล. (2538). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจิตร ระวิวงศ์. (2532). อนาคตของสวัสดิการสังคมในประเทศไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง สวัสดิการสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา. (อัดสำเนา).
วุฒิสาร ตันไชย. (2544). การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). คู่มือการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
F.C. Turner, John. (1977). Housing by People: Toward Autonomy in Building Environments. New York: Pantheon Books.
Ripley, Randal B. and Grace A. Franklin. (1982). Bureaucracy And Policy Implementation. Homewood, Illinois: The Dorsey Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-09