บทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
บทบาททางการเมือง, การสื่อสารทางการเมือง, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการแก้ไขปัญหาการก่อความ ไม่สงบ (2) เพื่อศึกษาบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อบทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยกำหนดวิธีการศึกษาวิจัยประเภทวิจัยเอกสาร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ศอ.บต. ในฐานะผู้ให้ข้อมูลหลัก ในระดับนโยบายและปฏิบัติ รวมถึงข้าราชการฝ่ายปกครองที่ทำงานกับ ศอ.บต. นอกจากนั้นจะเป็นประชาชน ครูหรือผู้นำทางศาสนาที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 18 คน ส่วนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) บทบาทของ ศอ.บต. ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไมสงบ (1.1) บทบาทด้านการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ ผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการนำ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (1.2 ) บทบาทด้านการยุติความคิดในการต่อสู้ด้วยความรุนแรง การยุติความคิดในการใช้ความรุนแรงของผู้ก่อความไม่สงบเป็นเรื่องยาก และต้องใช้ความต่อเนื่อง รัฐบาล และ ศอ.บต. ต้องมีนโยบายและแผนงานที่ชัดเจน (2) บริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อบทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ ศอ.บต. ควรมีความรู้ ความเข้าใจ ในบริบททางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากที่สุด
References
วีระศักดิ์ อุปสิทธิ์. (2545). บทบาท ศอ.บต. กับความมั่นคงแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Berlo, David K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.
Lasswell, Harold D. (1948). The communication of ideas. New York: Harper and Brother Publishers
Mcnair, Brain. (1995). An Introduction to Political Communication. London: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว