ปัจจัยของนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาลที่มีผลต่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

ผู้แต่ง

  • ฉัฐมณฑน์ ทองสมจิตติ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์, การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว, นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาลที่มีผลต่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวแทนผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนไทยกับ สปป.ลาว เชียงของ จำนวน 240 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทวิ การวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้น การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว สู่เศรษฐกิจอาเซียน ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้า และนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล ส่วนปัจจัยด้านต้นทุนสินค้าถึงแม้ไม่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทางตรงต่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การค้า แต่มีความสัมพันธ์ทางตรงกับปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้า และนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล ส่วนในด้านคุณสมบัติของผู้ประกอบการนั้นแทบจะไม่มีผลต่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การค้า

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2554). สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทย ปี 2554-2557 (มกราคม-พฤศจิกายน). กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
กรมการค้าต่างประเทศ. (2555). ประชุมเชิงปฏิบัติการ แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2557). รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์. (2554). คู่มือ การค้าและการลงทุน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก.
ชนิด ศุทธยาลัย. (2556). รายงานการค้าชายแดนไทยกับเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ (มาเลเซีย พม่า จีนตอนใต้ ลาว และกัมพูชา). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ดำรงค์ วัฒนา. (2554). โครงการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริหารจัดการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เติมธรรม สิทธิเลิศ. (2558). รูปแบบการค้าที่สำคัญของไทยภายใต้กรอบ AEC. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
นิฐิตา เบญจมสุทิน และนงนุช พันธกิจไพบูลย์. (2548). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ และคณะ. (2547). ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
วิมลิน เหล่าศิริถาวร. (2553). องค์กรและการจัดการ. เชียงใหม่: ม.ป.ท.
สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์. (2552). นโยบายสาธารณะ แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, เสมาธรรม.
สถาบันพระปกเกล้า. (2558). รายงานการศึกษาการค้าชายแดน-การค้าผ่านชายแดนไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณี: การค้าและการขนส่งสินค้าชายแดน-ผ่านแดนไทย-ลาว-จีน.
สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย. (2557). Factsheet-ประเทศลาว. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2558, จาก http://aec.ditp.go.th.
อัญชลิกา เฟื่องฟุ้ง. (2550). การวิเคราะห์ SWOT. สระแก้ว: มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ.
Adam Smith. (1776). The Theory of Moral Sentiments. D.D. Raphael & A.L. Macfie. 189-190 Clarendon Press.
Albert Humphrey. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. SRI AlumniNewsletter. SRI International, from http://www.sri.com/sites/default/files/brochures/dec-05.pdf
Brown, R. (1997). Coaching helps you reach for the stars. Works Management. pp. 34-36.
Chiquiar, D., & Hanson, G. H. (2005). International migration, self-selection, and the distribution of wages: evidence from Mexico and the United States. J. Polit, Econ., 113(2): 239-281.
Collis, D. J. (1991). A resource-based analysis of global competition. Strategic Management Journal, 12(5): pp. 220-32.
David Ricardo K. (1823). Rdenes expedidas por el estodo de yucat. New York: Random House.
Hamilton, B., & Whalley, J. (1984). Efficiency and distributional implications of global restrictions on labor mobility: Calculations and policy implications. J. Dev. Econ., 14(1), pp. 61-75.
Jacob Viner. (1986). The assumptions of Jacob Viner’s theory of customs unions. Journal of International Economic, 2: 75-93.
Johanson, J., & J.-E. Vahlne. (1990). The Mechanism of Internationalization. International Marketing Review, 7(4): pp. 11-24.
Mazmanian, Daniel A., & Sabatier, Paul A. (1989). Implementation and Public Policy. Glenville, Illinois: Scott, Froesmen and Company.
Morgan, E. R., Torgerson, P. R., Shaikenov, B., Medley, G. F., Milner-Gulland, E. J. (2006). Agricultural restructuring and gastrointestinal parasitism in domestic ruminants on the rangelands of Kazakhstan. Vet. Parasitol. 139: pp. 180–191.
Tallman, Stephen B. (1991). Management Models and Resource-Based Strategies Among MINEs in a Host Market. Strategic Management Journal, 123(Summer Special Issue): pp. 69-82.
Thompson, A. A., Jr., & Stickland, A. J. (2003). Strickland, Strategy Management: Concepts and Cases (13th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Walter, Williams. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in The Federal Social Agencies. New York: American Elserier Publishing Co.
Wheelen, T. L., & Hunger, D. J. (2000). Strategic management and business policy. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-10