ปัจจัยการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการจังหวัดชัยนาทสู่ความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • จรรยา กลัดล้อม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหาร, จัดการ, กองทุนสวัสดิการ, จังหวัดชัยนาท, ยั่งยืน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความจำเป็นในการจัดตั้งและดำเนินงาน ปัจจัย/เงื่อนไขที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้การกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดชัยนาทที่ยั่งยืนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญคือบุคคลที่ปฏิบัติงาน ฝ่ายตรวจสอบภายใน ผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอก สมาชิก ใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมีการตรวจความตรง    เป็นเครื่องมือที่มีเนื้อหาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา และตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา กำหนดตัวแปรต่างๆ         มีการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผลที่ได้นำไปสู่การสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจต่อเจตนารมณ์ของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยมีความตระหนักว่าชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการแก้ปัญหาด้วยคนในชุมชนเอง มีความสามารถในการขับเคลื่อนบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนด้วยตนเอง มีปัจจัย/เงื่อนไขที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดผลสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน การให้บริการดูแล     ชาวบ้านอย่างเป็นรูปธรรม กลไกโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีคุณภาพ สามารถเชื่อมโยงบูรณาการ    การทำงานร่วมกับกลุ่มองค์กรและหน่วยงานอื่นๆได้ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ระบบการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก เปิดเผยและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชน เป็นต้นแบบการศึกษาเรียนรู้ของชุมชนอื่นๆ ปัจจัย/เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นจะเป็นกรอบกำหนดให้แนวทางและวิธีการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมเกิดประโยชน์สูงสุดกับบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน

References

ชัยวัชน์ หน่อรัตน์. (2548). เศรษฐกิจและสวัสดิการชุมชน: การบริการที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). รายงานวิจัยฉบับสัมบูรณ์ บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์แอนด์มีเดีย.
ธีรยุทธิ์ เบ็ญล่าเต๊ะ, และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2554). การนำกระบวนการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ของเทศบาลเมืองบ้านพรุ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(3, กรกฎาคม-กันยายน), หน้า 116-129
ระพีพรรณ คำหอม และคณะ. (2547). รายงานการศึกษาทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2559, จาก http://www.nesdb.go.th.
สถาบันพระปกเกล้า. (2555). รายงานการวิจัยการสรางความปรองดองแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จากhttp://www.kpi.ac.th/kpith/images/stories/2012.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2552). กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ภาพรวมความคืบหน้าผลการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน 2548-2549 และบทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: ส่วนประเมินผลและพัฒนาองค์ความรู้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2558). เอกสารรายงานผลการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2554). คู่มือการสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2559, จากhttp://www.alro.go.th/alro/project/PMQA/ file/CoP.pdf
อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dubrin, J. (1998). Leadership research finding: Practice and skills. Boston Houghton: Mifflin Company.
House, R. J. (2004). Culture, Leadership, and Organizations: The Globe Study of 62 Societies. Sage, Thousand Oaks.
Kotter, J. P. (1999) “On what leaders, really do.” Havard Business Review Book. Boston: Harvard Business School.
McKnight, D. H., & Chervany, N. L. (1997). The meaning of trust. Retrieved April 27, 2017, from http://misrc.umn.edu/wpaper/WorkingPaper/9604.pdf.
Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday/Currency.
Thomas, J. P., & Robert, H. (1980). Waterman: In Search of Excellence. New York: Harper & Row.
Yukl, G. (1989). Leadership in organization (4th ed.). Engle Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-10