การศึกษาความสามารถในการบริหารงานคลังท้องถิ่น: เทศบาลตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ดุจฤทัย สอาดนัก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสามารถการบริหารงานคลังท้องถิ่น, เทศบาลตำบลหัวสะพาน, ความโปร่งใส

บทคัดย่อ

           การศึกษา เรื่อง ความสามารถการบริหารงานคลังท้องถิ่น เทศบาลตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) ศึกษาความสามารถการบริหารงานคลังของเทศบาลตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้ตอบแบบสอบถามกับผลความสามารถการบริหารงานคลัง เทศบาลตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันซึ่งเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน  ในเทศบาลตำบลหัวสะพาน คือ ผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการและพนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพาน จำนวน 100 คน การศึกษาใช้สถิติเชิงบรรยายด้วยสถิติร้อยละ สถิติมัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ   t -Test และ ANOVA F ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถการบริหารงานคลัง ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายรับตามความสามารถ พบว่า ด้านการจัดเก็บภาษีมีการจัดเก็บภาษีด้วยความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี อยู่ในระดับสูง และความจำเป็นที่ไม่ต้องรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล อยู่ในระดับปานกลาง (2) มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากร แยกตามลักษณะ เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา มีความคิดเห็นที่ต่อความสามารถการบริหารงานคลังต่อขีดความสามารถการบริหารงานคลังไม่แตกต่างกัน มีเพียงคุณลักษณะด้านตำแหน่งงานของผู้ตอบแบบสอบถามที่ต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นที่มีต่อความสามารถ การบริหารงานคลังที่แตกต่างกันผลการทดสอบพบว่ามีความแตกต่างกัน

References

เกตุสิณี ดวงประสาท. (2555). การศึกษาปัญหา อุปสรรคและความพึงพอใจ การบริหารงานคลัง ของเทศบาลตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2555, จากwww.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/uploaded/.../B_717.pdf.
กรภัทธ สร้อยแก้ว, วรุณี เชาวน์สุขุม และภิรมณ์ ศรีธาตุ. (2555). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, จาก grad.vru.ac.th/pdf-journal/JourTs52/06-Korapad.pdf.
จรัส สุวรรณมาลา. (2538). การปฎิรูประบบการคลังไทย กระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมกองทุนการวิจัย.
จุฑามาศ บาระมีชัย. (2555). การบริหารการคลังท้องถิ่นเพื่อจัดบริการสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2555, 0ก docndc.rtarf.mi.th.
เพ่ง บัวหอม. (2555). นโยบายด้านการเงิน การคลัง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, จาก www.navy30.com/images/column.../Local%20finance.ppt.
ไพรัตน์ สกลพันธ์. (2553). รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองท้องถิ่น. ส่วนวิจัยและพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง สำนักพัฒนาระบบรูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ. (2555). การพัฒนาความสามารถการบริหารงานคลังเทศบาลนครและเทศบาลเมือง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วีรศักดิ์ เครือเทพ. (2555). สุขภาพทางการคลังของเทศบาล. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555, จาก www.kpi.ac.th/kpith/.../52-02%2004.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2548). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุดม ทุมโฆสิต. (2551). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่: บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ: แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.
Daniel, Wit, A. (1961). Comparative serveg of local government and administration. Bangkok: Prachanda printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-10