การศึกษาความเป็นธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ปรีชา เปล่งภู่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประสิทธิผลความเป็นธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (2) เปรียบเทียบความเป็นธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 396 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31-40 ปี       มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 10,000-20,000 บาท (2) ประชาชนมี       ความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม   ด้านหลักความโปร่งใส ตามลำดับ และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านหลักนิติธรรม ตามลำดับ และ (3) ประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกัน ส่วนอาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่แตกต่าง

References

กุลวัชร หงส์คู. (2553). ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
ชื่นกมล กุมารสิทธิ์. (2553). สภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ฐิตาภรณ์ ปรียานนท์. (2555). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษาเทศบาลตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
ถวิลวดี บุรีกุล (บก.). (2550). ทศธรรม: ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ถวิลวดี บุรีกุล และวราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ. (2549). การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ถวิลวดี บุรีกุล และวิศิษฎ ชัชวาลทิพากร. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2550). การบริหารราชการแนวใหม่: บริบทและเทคนิควิธี. กรุงเทพฯ: วีชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
นพพล สุรนัคครินทร์. (2547). การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญฤทธิ์เกตุจำนง. (2549). การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปาลสิฌาล์ธีรัฐฌานล์. (2551). การบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาลของพนักงานเทศบาล : ศึกษากรณีเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระจรุณธีรปญฺโญ (เวฬุวาปี). (2554). การบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพ็ญศรี มีสมนัย. (2549). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วาสนา ธรรมาจักร. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2547). การบริหารจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านฉาง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-10