ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นมโคสดพร้อมดื่มของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว คณะบริหารธุรกิจสถาบันรัชต์ภาคย์
  • นวพร รัตนนาคะ คณะบริหารธุรกิจสถาบันรัชต์ภาคย์
  • สุขจิตต์ ณ นคร คณะบริหารธุรกิจสถาบันรัชต์ภาคย์
  • พิชัย ลัทธศักดิ์ศิริ คณะบริหารธุรกิจสถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

นมโคสดพร้อมดื่ม, พฤติกรรมผู้บริโภค, ส่วนผสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งที่จะศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นมโคสดพร้อมดื่มของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์นมโคสดพร้อมดื่มจำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มจากลูกค้าในร้านสะดวกซื้อประเภทเปิด 24 ชั่วโมง จำนวน 20 แห่งกระจายทั่วกรุงเทพ ใช้แบบสอบถามที่มีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญตามหลักเกณฑ์ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแล้วนำเสนอข้อมูลในรูปของตารางแจกแจงความถี่และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นิยมซื้อผลิตภัณฑ์นมโคสดพร้อมดื่มจำนวน 6-10 ครั้ง โดยนิยมซื้อจากร้านสะดวกซื้อมินิมาร์ทมากที่สุด ส่วนใหญ่ซื้อยี่ห้อโฟร์โมสต์ รสชาติที่นิยมซื้อมากที่สุดคือรสจืด ซื้อซ้ำยี่ห้อเดิมตลอด ซื้อต่ำกว่า 100 บาทต่อครั้ง ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค ให้ความสำคัญด้านยี่ห้อหรือชื่อเสียงของบริษัท และมีของแถม/มีส่วนลด โดยแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์นมโคสดพร้อมดื่มคือโทรทัศน์/วิทยุ และแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุดที่กลุ่มตัวอย่างใช้ประกอบการตัดสินใจในการซื้อผลิตภัณฑ์นมโคสดพร้อมดื่มคือคนในครอบครัว/พี่น้อง/เพื่อน

References

ฉัตยาพร เสมอใจ และมัทนียา สมมิ. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ไทยเกษตรศาสตร์. (2557). ตลาดนมพร้อมดื่ม. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก http://www.thaikasetsart.com
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
บดิน สุนิภาษา, เบญญาภัทร พรมปัญญา และเนาวคุณ เลอเลิศวณิชย์. (2554). การยอมรับผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มออแกนิกส์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เบญจมาภรณ์ สุวรรณพัฒน์. (2552). ทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองพะเยาต่อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ, สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก http://search.lib.cmu.ac.th/ search/?searchtype=.&searching=b1472903
รวิพิมพ์ ฉวีสุข, อยุทธ์ อังศุธรวิไล และณัฐชา เพชรดากูล. (2553). พฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของบุรุษในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559 จาก, http://anchan.lib.ku.ac.th/kukr/handle/003/25595
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์ และองอาจ ปทะวานิช. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารหารตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2558). นมพร้อมดื่มในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก http://fic.nfi.or.th/foodindustry_ceo_view.php?smid=371
สมจิตร ล้วนเจริญ. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุวิมล แม้นจริง และเกยูร ใยบัวกลิ่น. (2550). การส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
สราญรัตน์ ไพทักษ์ศรี. (2556). การบริโภคน้ำนมควายพันธุ์มูร่าห์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2551). การบริหารการตลาด ฉบับมาตรฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kotler, Philip. (2550). Kotler on Marketing. แปลโดย เมธา ฤทธานนท์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ Brandage books.
Marketeer. (2558). ส่วนแบ่งตลาดนมพร้อมดื่มยูเอชที. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2559, จากhttp://marketeer.co.th/archives/65271
Positioning. (2559). ตลาดนมพร้อมดื่มปี 2558. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559, จาก http://positioningmag.com/1096194

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13