การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและแนวทางขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาส้วมสาธารณะไทย
คำสำคัญ:
ผลการดำเนินงาน, ส้วมสาธารณะ, นโยบายบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนโยบายพัฒนาส้วมสาธารณะไทย และ (2) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ใช้การศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 52 คน จาก 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายส้วมสาธารณะไทย จำนวน 20 คน และ (2) กลุ่มบุคคลที่เป็นหน่วยงานที่ตั้งส้วมสาธารณะ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายส้วมสาธารณะไทยไปปฏิบัติ มีกรมอนามัยเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและดำเนินการตามแผนแม่บทส้วมสาธารณะไทย ภายใต้ 4 กลยุทธ์หลัก โดยได้บูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงานต่างๆ ร่วมกับการพัฒนาไปสู่การได้มาตรฐานส้วม HAS (Health Accessibility Safety) ซึ่งสัดส่วนส้วมสาธารณะไทยที่ได้รับมาตรฐานระดับประเทศ ในแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 1, 2 และ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - 2559 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งในระดับการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS และสุดยอดส้วมแห่งปีของประเทศ ตลอดจนนโยบายดังกล่าวนี้ ยังเกิดผลลัพธ์ ผลกระทบ ทางด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกเป็นอันมาก สำหรับแนวทางที่ควรปรับปรุงเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส้วมสาธารณะให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์ คือ ควรปรับปรุงนโยบายส้วมสาธารณะเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และควรพัฒนานโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งปฏิกูลจากส้วมสาธารณะในทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
References
กรมอนามัย. (2549). เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก http://www3.phahol.go.th/home/files/green/ HAS%20%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf
กรมอนามัย. (2558). ส้วมดี...มีที่ไหน? สุดยอดส้วมแห่งปี 2558. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560, จากfile:///C:/Users/Admin/Downloads/Documents/bestToilet58.pdf
กรมอนามัย. (2547). ยุทธศาสตร์แห่งชาติ “รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง”,วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 27(4), pp. 11- 18.
ทัศนาวดี ไพโรจนบริบูรณ์. (2550). มาตรฐาน“ส้วมสาธารณะ” ปัจจัยส่งเสริมการทองเที่ยว. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 2(3), pp. 109 -164.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก: โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2556. เล่ม 130 ตอนที่ 36 ก.
รุ่งรดิศ เหมฤดี. (2550). โครงการส้วมสาธารณะไทย 2550. งานประเมินผลและสารสนเทศ ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557, จาก http://hpc2.anamai.moph.go.th/eval/ index.php/2015-09-09-07-10-33/94-2550/286-2550
ลงทุนแมน. (2561). กาแฟ AMAZON ขายดีกว่า STARBUCKS. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2561, จาก http://longtunman.com/3950
วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: หนังสือในโครงการตำรา สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.
องค์การอนามัยโลก. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ (สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, ผู้แปล). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สุคนธ์ เจียสกุล. (2549). ร่วมแรง ร่วมใจ พัฒนาส้วมสาธารณะไทย ให้สะอาด พอเพียง และปลอดภัย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 29(4), pp. 11-20.
แสงจันทร์ กล่อมเกษม. (2554). การประเมินเบื้องต้นการปนเปื้อนเชื้อโคสิฟอร์มแบคทีเรียของส้วมสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 14(1), pp. 109-126.
Ayee, J. & Crook, R. (2003). “Toilet wars”: urban sanitation services and the politics of public-private partnerships in Ghana. Institute of Development Studies. Brighton, Sussex BN1 9RE England. Retrieved September 22, 2017 from http://opendocs.ids.ac.uk/ opendocs/handle/123456789/4008
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว