รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร สุพรรณ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ปัญญา ธีระวิทยาเลิศ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, การประชาสัมพันธ์, สถานศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ และ (3) เพื่อประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม และการการสนทนากลุ่ม ตลอดจนความคิดเห็นส่วนตัวของกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 340 คน ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปผลการวิจัยที่ได้จากสถิติ Factor Analysis กับตลอดจนข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันความถูกต้องแม่นยำของงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า (1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ พบว่า มี 12 องค์ประกอบ (2) พัฒนารูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ พบว่า รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร มี 3 กระบวน ประกอบด้วย กระบวการที่ 1 การศึกษาหาข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น มี 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพบริบททั่วไปของสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา ขั้นที่ 3. วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา กระบวการที่ 2 วางแผนการประชาสัมพันธ์ มี 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 4 กำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ปฏิทินการดำเนินงาน เป็นรายปี ขั้นที่ 5. กำหนดวิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ 6 กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ 7 กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่าย วัสดุ อุปกรณ์ ขั้นที่ 8 ดำเนินการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ตามกำหนดเวลาในแผนปฏิบัติการ และกระบวการที่ 3 การดำเนินงานประชาสัมพันธ์งานการศึกษา มี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 9 จัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในงานประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ 10 จัดเผยแพร่ ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 11 สร้างเครือข่ายการทำงานโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ขั้นที่ 12 ติดตาม ดูแล ปรับปรุงแก้ไข ระหว่าง การดำเนินการเป็นระยะๆ (3) ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ พบว่า ในภาพรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งถือว่าแต่ละด้านมีค่าอยู่ในระดับสูงนำไปใช้ได้

References

กรกมล กองแก้ว. (2554). กระบวนการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
จำเนียร พลหาร. (2554). ปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซันพริ้นติ้ง.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธิติ รักชาติ. (2555). รูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ประทีป รักธรรม. (2561). การบริหารงานประชาสัมพันธ์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนภาคกลางตอนล่าง เขตกรุงเทพมหานคร. งานวิจัยวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
ประไพพรรณ เวชรักษ์. (2552). ผู้หญิงกับประชาสัมพันธ์หน่วยงาน. วารสารสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 17(2): หน้า 31 – 43.
ระภีพรรณ ร้อยพิลา. (2554). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผูนำในการประชาสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วรรณี เบ็ญจวัฒนาผล, นงพงา ลีลายนะ และ ดิเรก ธรรมารักษ์. ( 2560). การบริหารงานประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. งานวิจัยมหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วิจิตร อาวะกุล. (2554). การประชาสัมพันธ์: หลักและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุเทพ ทองประดิษฐ์. (2554). เอกสารจากการบรรยายรายวิชาหลักและทฤษฎีการจัดการศึกษาสมัยใหม่.คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.
Kornkamol division glass. (2011). The process of public relations administration under the Department of education school in Chiang Rai province. Science. Degree thesis, master of education, Graduate School, CRU.
Ponoy. (2008). Theory and practice in educational administration (type II). 2 Bangkok: Book point.
Duodenitis, and foods. (2011). Practical quality assurance. Bangkok: sun printing.
Chaiyos ruangsuwan. (2010). Design, program development, lessons and lessons on the web. Journal MSU.
Tongfu patriotism. (2012). Communication public relations to enhance corporate image: a case study of the Rajabhat Universities Phra Nakhon. Research Rajabhat University.
The light, love nature. (2018). The administrative public relations. Private higher education institutions in central Bangkok. Research, human resource management, business administration. Power of South-East Asia.
Beautiful species medical guard. (2009). Women and public relations agency.? Journal of Management Development Institute of education, 17(2): pp. 31 - 43.
The phi of hundred Pilat. (2011). The development of leadership in the public relations of the school principals, the basic On the base. The dissertation. University doctor of Education).
Wannee Ben e Wattana effect, non Phong, Leela. And Derek taveesangsakulthai. (2518). The administration universities. Research University, Pathum Thani.
Splendid, not industry. (2011). Public relations: Principles and practices: Thai watana Panich.
Suthep gold invention. (2011). The documents from the principles and the management theory of modern education. Faculty of Arts, science and resource Science. Nakhon Phanom: University of London.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13