การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • วิทยา ชินบุตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ทรัพยากรการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ประชาคมอาเซียน, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรการท่องเที่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน และ (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.899 ค่าความเชื่อมั่นของทรัพยากรการท่องเที่ยว เท่ากับ 0.946 และค่าความเชื่อมั่นของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi Square (χ2) ค่า t-test ใช้สถิติวิเคราะห์ F-test แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA หรือ Brown Forsyth เมื่อมีคู่ใดที่แตกต่างกันโดยใช้วิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) หรือ Dennett’s T3 และใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
         1. เพศ อายุ สถานภาพ ศาสนา ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, ระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอาชีพ มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, อายุ สถานภาพ ศาสนา ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วน อาชีพ มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, เพศ อายุ สถานภาพ ศาสนา ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และศาสนา ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการได้รับข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วน อายุ มีความสัมพันธ์กับการได้รับข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
         2. นักท่องเที่ยวที่มีอายุ ศาสนา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และที่ระดับ .05 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. นักท่องเที่ยวที่มีอายุ ศาสนา ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และที่ระดับ .01 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีเพศ สถานภาพ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          4. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว ได้แก่ พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน พัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลประจำแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาที่พักให้ได้มาตรฐาน พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก ยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ จัดทำคู่มือสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าพื้นถิ่น ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แก่ชุมชน พัฒนาความสามารถด้านภาษาต่างประเทศแก่บุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งสร้างเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวกับจังหวัดอื่นๆ ที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกัน

References

กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กัลยา สมมาตย์. (2541). สภาพทั่วไปของนักท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยวปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว รวมทั้งเปรียบเทียบปัญหา และโอกาสทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการตลาด), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีรวัฒน์ บุตตะโยธี. (2551). ความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อเมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิคม จารุมณี. (2544). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.
ประภัทร สุทธาเวศ. (2550). วิวัฒนาการและพัฒนาการการท่องเที่ยว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด. (2553). ระบบนวัตกรรมรายสาขาเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ราณี อิสิชัยกุล. (2545). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณา ศิลปอาชา. (2545). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา อ่องเอี่ยม. (2546). เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิชสุดา ร้อยพิลา. (2558). องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิสาขา อุเทนะพันธุ์. (2546). การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แสงดาว นําฟ้า
ศุภลักษณ์ อังครางกูร. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). โรงแรม ทัวร์ บูมรับกระแสท่องเที่ยวโต. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/ article/KSMEAnalysis/Documents/HotelTourGrowthTourismTrend.pdf
สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2559). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560, จาก http://www2.pathumthani.go.th/
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 7 ม.ค.-มี.ค. 2560. กรุงเทพฯ: เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2554). โครงการต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
สุรเชษฎ์ เชษฐมาส. (2541). วิสัยทัศน์การจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ. ใน รายงานการฝึกอบรมหลักสูตรการให้บริการด้านการท่องเที่ยวสำหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำหรับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้.
Al-Albabneh, M. (2013). “Service quality and its impact on tourist satisfaction”. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 4(12), 164-177.
Binkhorst, E. (2006). The Co-Creation Tourism Experience. Available: http://www.esade.edu/ cedit2006/pdfs2006/papers/esther_binkhorst_paper_esade_may_06.pdf
Davidson, Rob. (1995). Tourism Marketing. New York: Van Nostrans Reinhold.
Dwyer, L., Edwards, D., Mistilis, N., Roman, C., & Scott, N. (2008). Destination and Enterprise Management for a Tourism Future. Tourism Management, 30(2009): 63-74.
Goeldner, C. R., & Ritchies, B. J. (2006). Tourism: Principles, practices and philosophies. New Jersey: John Wiley and sons.
Gilmore, J., & Pine, J. (1999). The Experience Economy: Work is Theatre and Every Business a Stage. Harvard Business School Press.
Holloway, J. C. (1983). The Business of Tourism. London: Pitman.
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travellers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. (pp. 78-90). New Mexico. USA.
Richards, G., & Raymond, C. (2000). “Creative Tourism”. ALTAS News, 23: 16-20.
Richards, R., & Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: a solution to the serial reproduction of culture? Tourism Management, 27: 1408-1413
Stevens, Laurence. (1990). Guide to Starting and Operating A Successful Travel. Agency (3rd ed.). New York: Prentice-Hall.
UNESCO. (2006). Towards sustainable strategies for creative tourism discussion report of the planning meeting for 2008. International Conference on Creative Tourism Santa Fe, New Mexico, USA. October 25-27, 2006.
Wurzburger, R. (2010). Introduction to the Santa Fe & UNESCO International Conference A Global Conversation on Best Practices and New Opportunities. New Mexico: Sunstone Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13