รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • วิทยา จิตนุพงศ์ คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลัก, สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่, สมรรถนะส่วนบุคคล, สมรรถนะทางการบริหาร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด  (2) ศึกษาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด และ (3) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่ นายก/รองนายก/เลขานุการองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ประธาน/รองประธาน/สมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 73 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.887 ค่าความเชื่อมั่นของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด มีค่าเท่ากับ 0.985 และค่าความเชื่อมั่นของสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด มีค่าเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent t-test) ใช้สถิติวิเคราะห์ F-test (Independent sample F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA (One-way Analysis of Variance) หรือ Brown Forsyth เมื่อมีคู่ใดที่แตกต่างกันโดยใช้วิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) หรือ Dennett’s T3 และใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน พบว่า (1) ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านยอมรับการเปลี่ยนแปลง และด้านวิสัยทัศน์ ตามลำดับ (2) สมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด ในภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ สมรรถนะหลัก สมรรถนะส่วนบุคคล สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ และสมรรถนะทางการบริหาร ตามลำดับ (3) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่างกัน มีสมรรถนะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่แตกต่าง (4) ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยการขับเคลื่อน และปัจจัยการทำงาน ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กีรติยศ ยิ่งยง. (2550). ขีดความสามารถ: Competency Based Approach (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก๊อปปี้.
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. (2557). เขตเศรษกิจพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก http://www.thaigov.go.th/th/news1/item/84757.html
ชมสุภัค ครุฑกะ. (2556). การศึกษาสมรรถนะสากลของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐิติพัฒน์ พิชญธาดาพงศ์. (2549). ยุทธวิธีการใช้ระบบสมรรถนะในการบริหารทรัพยากร-มนุษย์เพื่อผลักดันองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. วารสารดำรงราชานุภาพ, 6(20), หน้า 31-55.
ดำรง แสงกวีเลิศ และนันธิกา ทังสุพานิช. (2545). เขตเศรษฐกิจพิเศษ: แนวคิดใหม่ในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 39(2), 42-43.
ประกอบ กุลเกลี้ยง. (2548). การบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. (2550). แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.
เรวดี แก้วมณี. (2556). สรุปผลเสวนา Morning Talk เรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด: โอกาสและศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดน. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/Maesot_ SpecialEconomicZone_220254.doc
ศุภชัย เยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่ และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
สิริวษา สิทธิชัย. (2551). สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2548). การจัดการขีดความสามารถ (competency) ของบุคลากร: หัวใจสำคัญในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 2(6), หน้า 50-60.
สุรชัย พรหมพันธุ์. (2554). ชำแหละสมรรถนะเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
อภิรักษ์ วรรณสาธพ. (2545). Competency ความท้าทายองค์กรยุคใหม่. Productivity World, 7(41), 14-27.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2548). Competency Dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2556). องค์กรแห่งความสุข…สิ่งที่พนักงานปรารถนา. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2560, จาก www.drsuthichai.com.
Bapat, A.; Bennett, M.; Burns, G.;Bush, C.;Goeski, K.; Langford, S.; Monnot, M.; Pfeffelmann, B.; Siers, B.;Stehura, A.; Wagner, S. (n.d.). A leadership competency model: Describing the capacity to lead. November 22, 2017, From http://www.chsbs.cmich.edu/leader_model/ compmodel/onlinemodel.doc
Boyatzis, R. E. (1982). The Competent Manager A Model for Effective Performance. New York: John Wiley and Sons.
David, D. Dubois, & William, J. Rothwell. (2004). Competency-Based Human Resource Management. California: Davies-Black.
Hoge, M. A., Tondora, J., & Marrelli, A. (2005). The fundamental of workforce competency: Implications for behavioral health. Administration and Policy in Mental Health, 32(5), 509-531.
Kaplan, Robert S., & Norton, David P. (2004). Strategy Maps. Massachusetts: Harvard Business School.
Qiuyan, T., & Qin, H. (2006). Analysis on the competency model of the lecturers in the application oriented university. Retrieved October 9, 2017, form http://www.seiofbluemountain.com/search/detail.php? id=1850
Richard, L. (2001). Organization Theory and Design. U.S.A.: South.
Spencer, M. L., & Spencer, M. S. (1993). Competency at work: Model for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.
U.S. Office of Personnel Management. (n.d.). Proficiency levels for leadership competencies. November 20, 2107, from https://www.opm.gov/policy-data-oversight/assessment-and-selection/reference-materials/proficiency levelsleadershipcomp.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-13