ก้าวต่อไปของกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • สุภัสสร ภู่เจริญศิลป์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความรุนแรงในครอบครัว, ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง, การคุ้มครองสวัสดิภาพ

บทคัดย่อ

         ภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ระยะหนึ่ง ได้พบปัญหาหลายประการ นำไปสู่การเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ. …… จากการศึกษาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวพบหลายประเด็นที่น่าพิจารณา ซึ่งในที่นี้จะยกขึ้นมาพิจารณาสามประเด็น คือ การให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่อยู่อาศัย หรือให้ย้ายออกจากที่พักอาศัย แม้ที่อยู่อาศัยหรือที่พักอาศัยนั้นเป็นของผู้กระทำหรือผู้กระทำมีสิทธิตามกฎหมายในสถานที่นั้นก็ตาม การให้อำนาจนี้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินเกินสมควรหรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าไม่เกินสมควร เนื่องจากกระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำ แต่ประโยชน์สาธารณะย่อมเหนือกว่าสิทธิส่วนบุคคล ประเด็นต่อมา กรณีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ ควรมีมาตรการอื่น ๆ ในการคุ้มครองเพิ่มเติมหรือไม่  พบว่าควรมีมาตรการอื่นเพิ่มเติม เช่น ให้ศาลมีอำนาจสั่งถอนคืนการให้ ด้วยเหตุที่ผู้รับการให้ได้กระทำความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ให้ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ และประเด็นสุดท้าย การกำหนดให้ผู้พบเห็นหรือทราบการกระทำความรุนแรงในครอบครัวแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มิได้กำหนดบทลงโทษหรือมาตรการใด ๆ แก่ผู้ที่ไม่แจ้ง บทบัญญัติที่ให้แจ้งนี้เพียงพอแล้วหรือไม่ที่จะทำให้ทุกคนในสังคมตระหนักว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว พบว่ายังไม่เพียงพอ รัฐควรร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการกระทำความรุนแรงในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2558). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัว สำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2557. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561, จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/d012859-01.pdf
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2559). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัว สำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2558. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561, จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/d120859-06.pdf
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัว สำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2559.ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561, จาก http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext78/78479_0001.PDF
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ. ...... ระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2560. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.dwf.go.th/content/view/1336
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.). (2557). ปฏิรูปกฎหมายสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ : ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. …… . กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย.
จิราพร เกศพิชญวัฒนา และ สุวิณี วิวัฒนวานิช. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทย:การทบทวนองค์ความรู้และสถานการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: เสนอต่อมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2561, จาก http://thaitgri.org/?p=37285
พวงทอง เครือมังกร, อุไร บูรณพิเชษฐ และ อุมาภรณ์ อุดมทรัพยากุล. (2561). การศึกษาวิจัยความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวไทย. ใน สมพร โชติวิทยธารากร และรณชัย คงสกนธ์ (บรรณาธิการ), องค์ความรู้สถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว. (91-118). กรุงเทพฯ: ศูนย์จัดการความรุนแรงในครอบครัว.
มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์, อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ, จารุประภา รักพงษ์, สาวตรี สุขศรี และ อุมาภรณ์ ศรีสุทธิ์. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561, จาก http://thaitgri.org/?p=38427
รณชัย คงสกนธ์ และ สมพร โชติวิทยธารากร. (2561). ความจำเป็นของข้อมูลในสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว. ใน สมพร โชติวิทยธารากร และ รณชัย คงสกนธ์ (บรรณาธิการ), องค์ความรู้สถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว. 7-33. กรุงเทพฯ: ศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2557). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงของประเทศไทย และตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2556. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561, จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/d032658-03.pdf
สุดสงวน สุธีสร. (2551). รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัว. ใน รณชัย คงสกนธ์ และ นฤมล โพธิ์แจ่ม (บรรณาธิการ), ความรุนแรงในครอบครัว. (74-95). กรุงเทพฯ: หสน. สหประชาพาณิชย์.
Sureeshine Phollawan. (2015). Battered Wife Syndrome: Legal Proceedings in Thailand. Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society) Mahidol University, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28