การส่งเสริมการตลาดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วัลย์ลิกา เจริญศิลป์ คณะวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เสรี วงษ์มณฑา คณะวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เตชคณา เตชคณา คณะวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง คณะวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวเพื่อเปรียบเทียบกับแรงจูงใจในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเพื่อศึกษาการส่งเสริมการตลาดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณคือนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 400 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่คล้ายคลึงกับประชากรที่จะทำการศึกษาจำนวน 40 คน เพื่อทดสอบหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยการใช้สัมประสิทธิ์เอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s’ Alpha Coefficient) ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 จึงนำแบบสอบถามที่ใช้ไปเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ในส่วนของงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยกำหนดเป็นโควตา (Quota) จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ภาคชุมชน และนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 16 ท่าน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการประมวลผลการวิจัย

           ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา คือแรงจูงใจเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาคือการเดินทางสะดวก ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวด้วยการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัด ราคาสินค้าไม่มีการกำหนดราคา ให้ความสำคัญในการพัฒนาการคมนาคม ส่งเสริมการตลาดด้วยการบอกต่อโดยใช้โซเชียล มีการคงเอกลักษณ์ความดั้งเดิม ใช้แอพพลิเคชั่นในการชำระค่าสินค้าและมีการอบรมบุคลากรด้านการบริการ

References

ณัชชา กุลปัณณวรรธและกุลพิชญ์ โภไคยอุดม.(2562). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเข้าชม
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี.วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา.ปีที่11.หน้า120
ธรา สุขคีรี.(2559).แรงจูงใจและทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ คณะการ ท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มนรัตน์ ใจเอื้อ และคณะ.(2559).รูปแบบการตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม: ชุมชน
บางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี.ปีที่12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม-มีนาคม 2559
ละเอียด ศิลาน้อย. (2558). การทดสอบเครื่องมือ(แบบสอบถาม)ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณด้วยIOC และReliability Analysis.กรุงเทพ: บางกอกบลูพริ้นต์.
วิเชียร ฝอยพิกุลและคณะ. (2557). ศักยภาพเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา. (พิมพ์ครั้งที่ 1)นครราชสีมา.สถาบันราชภัฏนครราชสีมา,หน้า 125.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Crompton L., (1979). “Motivation for pleasure Vacation” Annals of Tourism Research,6,408-424.
Kotler, P., Bowen, J., & Makens. (2003). Marketing concepts, techniques and case. London,UK: Houghton Mifflin.
Miles, M. B and Huberman, A.M. (1994). Qualitative Data Analysis. An Expended Sourcebook(2nded). Thousand Oaks, CA: Sage.
Christopher, H. Lovelock, & Wirtz, Jochen. (2007). service marketing: People, technology, strategy. Boston, MA: Prentice Hall.
Misiura, S. (2006). Heritage marketing. Oxford, UK: Butterworth-Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13