สมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้ และทักษะวิชาชีพ
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ครูอาชีวศึกษา, มาตรฐานความรู้, ทักษะวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t test) และ (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพโดยรวม และรายด้าน ด้านผู้สมรรถนะหลัก ด้านสมรรถนะในหน้าที่เฉพาะสาขา และด้านสมรรถนะความเชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก
- นักเรียน นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษา ระดับชั้น และอยู่ในชั้นปี ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียน นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ที่มีเพศที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียน นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในสาขาวิชา ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ โดยรวม และรายด้าน ด้านสมรรถนะหลัก และด้านสมรรถนะความเชี่ยวชาญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสมรรถนะในหน้าที่เฉพาะสาขา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (ปี พ.ศ. 2554-2564). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปาริชาติ สันติเลขวงษ์. (2556). สมรรถนะหลักของครูตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานชองกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
มะห์ดี มะดือราแว. (2551). สมรรถนะครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศศิมาพร คชาชัย. (2557). สมรรถนะครูกับการดำเนินงานตามมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมหทัย ตรองจิตต์. (2557). สมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุธี บูรณะแพทย์. (2557). สมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555-2559. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2558, จาก www.mua.go.th/users/bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_25552559.pdf
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). ที่ระลึกงานวันครู พ.ศ. 2549. (พิมพ์ครั้งที่ 50). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
อร่ามศรี อาภาอดุล, อัครัตน์ พูลกระจ่าง และราตรีศิริพันธ์. 2554. มาตรฐานวิชาชีพครูอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
อิสหาก นุ้ยโส๊ะ. (2555). สมรรถนะครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2554). ศึกษาเรื่องสมรรถนะครูกับการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว