โครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชน : การจัดการเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพของเทศบาลตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ถนอมชาติ ชำนิราชกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

กองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการบริหาร การจัดการเบี้ยยังชีพโดยเทศบาลตำบลคลองข่อย 2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภูมิหลัง (เพศ อายุ การศึกษา) ต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (การวิจัยเชิงสำรวจ)

          กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ประกอบด้วย ผู้สูงอายุจำนวน 269 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลคลองข่อย กลุ่มตัวอย่างเลือกโดย การใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้ตอบกรอกข้อความเอง แบบสอบถามประกอบด้วยคำถามที่มีมาตรวัด 5 ระดับ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลได้ทำการวิเคราะห์โดยการใช้ สถิติพรรณนา (t-test) และ (F-test)

          การวิเคราะห์ข้อมูลได้เปิดเผยให้ทราบข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

          เกี่ยวกับความความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ที่มีต่อมิติต่าง ๆ ของสวัสดิการ ความพึงพอใจของเค้าเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำ ตามความเข้มข้น ดังนี้ การจ่ายเบี้ยยังชีพ ที่อิงตามเกณฑ์อายุของผู้สูงอายุ การจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่กลุ่มที่มีรายได้ต่ำ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างรายได้

          เกี่ยวกับผู้ให้บริการ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจกับการแต่งตัว และความสุภาพของผู้ให้บริการมากที่สุด ตามมาด้วยการต้อนรับสูงอายุ ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาดี และต้อนรับอย่างอบอุ่น นอกจากนี้ ผู้ให้บริการ ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

          เกี่ยวกับระเบียบวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนของการให้บริการ ผู้สูงอายุพอใจกับทุกขั้นตอนของการให้บริการ เพราะว่า การบริการไม่มีความยุ่งยาก แต่ประการใด และการประชาสัมพันธ์ดีเยี่ยม

          ประการสุดท้าย ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจสูงมาก กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในสถานที่ที่ให้บริการ เช่น ทำเล ที่ตั้ง สถานที่จอดรถ ห้องน้ำ และทางเดินสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

          เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อกล่าวโดยรวมปรากฏว่าผู้สูงอายุที่มีภูมิหลัง (เพศ อายุ การศึกษา) ต่างกันไม่ได้มีความแตกต่างกัน ในเรื่องความพึงพอใจที่มีต่อการบริหาร การจัดการ เบี้ยยังชีพของเทศบาล

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติม ) ถึง (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2546. ประสานมิตร, 2545.
กระทรวงมหาดไทย. แนวทางการดำเนินงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงิน สงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย, 2558.
กระทรวงมหาดไทย. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, 2560.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา ปภาทัสสี. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ พบ.ม. การบริหาร การพัฒนา.กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
คู่มือการจัดทำ.(2553). ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี : สำนักพิมพ์พัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2559). การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2558). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : เอสพีเอสเอส (ไทยแลนด์) จำกัด.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของการนำนโยบายการให้บริการแก่ ประชาชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ พบ.ค. (การบริหารการพัฒนา). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นครินทร์ กลิ่นซ้อน. (2555). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา .การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา.
นฤมล สิงห์เงา. (2553). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจัดการเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ รป.ม.: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิตประภา แก้วกระจ่าง. (2556). การประเมินผลโครงการกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุในหมู่บ้านและชุมชนเมือง (เบี้ยยังชีพ) กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดำรง จาวสุวรรณวงษ์. (2557). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการ ด้านสวัสดิการ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. (2544). การปกครองท้องถิ่น: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.
ประหยัด หงษ์ทองคำ. (2556). การพัฒนาทางการเมืองไทยโดยกระบวนการปกครองท้องถิ่น. กรงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล ถิตย์พิพิธ. (2558). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพในชุมชนเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
ระพีพรรณ คำหอมและคณะ. (2557). รายงานวิจัยเรื่องโครงการประเมินผลการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
วิทยากร เชียงกุล. (2561). การศึกษากับการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สมชาย วัฒนา. (2559). การประกันสังคม: กรณีบำนาญข้าชราภาพตามระบบประกันสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองข่าย แผนพัฒนาตำบล 3 ปี (พ.ศ. 2560-2563) เทศบาลบริหารส่วนตำบลคลองข่าย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, 2561.
อภิญญา เวชชัย. (2557). การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชนโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
อุทัย หิรัญโต. (2553). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจใจชีวิตผู้สูงอายุ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุไรวรรณ พันธุ์ประพันธ์. (2553). การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก. : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Edwards, J.N. & klemmack, D.L. (1973). Correlates of Lift Satisfaction: A Re-examination.” Journal If Gerontology. 28 :497-502.
Maslow, AH. Management and personality. 2nd New York: Harper and Row, 1970.
Vroom, V.H. (1964). Working and Motivation. New York: john Wiley and sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29