การบริหารจัดการบรรษัทบริบาลของสถาบันการเงินในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พงศ์ปณต พัสระ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ
  • สุชีพ พิริยสมิทธิ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริหาร, จัดการ, บรรษัทบริบาล, สถาบันการเงิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการ และนำเสนอแนวทาง นโยบายและรูปแบบการบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบเชิงพรรณนาโดยการวิเคราะห์การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มีแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือที่ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญตามหลักเกณฑ์พบว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการเป็นเครื่องมือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้มีความรู้ และเกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 16 คน

          จากการศึกษามีข้อค้นพบว่า การบริหารจัดการความรับผิดชอบของสถาบันการเงินในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการตอบแทนสังคม ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกมิติ และต้องเพิ่มการสื่อสารที่ชัดเจนที่จะทำให้พนักงานและประชาชนเข้าใจถึงกิจกรรมของสถาบันการเงินมากขึ้น การวางแผน นำไปสู่การดำเนินงาน ตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและแสดงความเป็นตัวตนของสถาบัน ด้านการบริหารจัดการ พบว่ามีความหลากหลายของรูปแบบ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมของสถาบันการเงินในประเทศไทย พบว่า ทุกสถาบันการเงินมีเจตนารมณ์ที่ดีในการตอบแทนสังคม โดยมีกิจกรรมเพื่อสังคมที่ดีแตกต่างกัน ยังถูกมองเป็นเรื่องของภาพลักษณ์องค์กรที่เป็นการค้าแฝง ดังนั้นสถาบันการเงินต้องพัฒนาด้านการสื่อสารให้ตรงประเด็นและชัดเจนขึ้น

References

ธีรพร ทองขะโชค. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ประชาชาติธุรกิจ. (2548). มอง CSR ผ่านสายตาฟิลิป คอตเลอร์, คอลัมน์ CSR in Movement. ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3702.
พนัชกร สิมะขจรบุญ. (2554). การศึกษาค่าตอบแทนและสวัสดิการของธุรกิจโรงแรมประเภทแฟรนไชส์กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 4(1), 529-542.
พนัชกร สิมะขจรบุญ, กฤษฎา พรประภา และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). ศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย, จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38 (150), น. 33-67.
วรพรรณ เอื้ออาภรณ์. (2554). DNA CSR แบบไทย ๆ ตามกระแสโลก. กรุงเทพฯ: เซจ อินเตอร์เนนั่นแนล.
วรวุฒิ ไชยศร. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม 6 องค์กร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพ.
สานิตย์ หนูนิล. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ : ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์, วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10 (2). น. 304-321.
สิตางศุ์ สุนทรโรหิต. (2550). การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง, วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
โสภณ พรโชคชัย. (2553). CSR ที่แท้. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). นโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณกลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560, จาก
https://www.set.or.th/th/about/overview/setcg_p2.html
Chapple, W. and Moon, J. (2005). Corporate Social Responsibility (CSR) in Asia: A Seven-Country Study of CSR Web Site Reporting, Business & Society, 44(4), pp. 415-441
Iszatt-Wgite, M. and Saunders, C. (2014). Leadership. Oxford: Oxford University Press.
Kotler, P. and Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for your Company and Your Cause. New Jersey: Wiley.
MaqbooI, S. and Zameer, N. (2018). Corporate social responsibility and financial performance: An empirical analysis of Indian banks, Future Business Journal. 4. Pp 84-93.
McGuire, B. J., Sundgren, A. and Schneeweis, T. (1988). Corporate Social Responsibility and firm Finance Performance, Academy of Management. 31(4), Pp. 854-872.
Mostovicz, E. I., Kakabadse, N. and Kakabadse, A. (2009). A dynamic theory of leadership development, Leadership & Organization Development Journal 30(6) Pp.563-576.
Virakul, B., Boonmee, K. and McLean, G. N. (2009). CSR Activities in Award-Winning Thai Companies. Social Responsibility Journal, 5 (2), 178-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29