ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด การบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กาญจน์กวิน ปลั่งเจริญศรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปราณี ตรีทศกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริอร จำปาทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปลื้มใจ สินอากร วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ส่วนประสมทางการตลาด, การบริหารลูกค้าสัมพันธ์, 4G บนเครือข่าย, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด กับพฤติกรรมการใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 10 เขต จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม ด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 และปัจจัยด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ได้แก่ ด้านการรักษาลูกค้า ด้านการรับฟังข้อมูลความคิดเห็น ด้านการเสนอแนะบริการที่เป็นประโยชน์ ด้านการสื่อสารกับลูกค้า และด้านช่องทางในการให้บริการมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการ ในอนาคตจะยังใช้บริการ 4G บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนด้านการสร้างความสัมพันธ์ ด้านการรักษาลูกค้า ด้านการรับฟังข้อมูลความคิดเห็นด้านการสื่อสารกับลูกค้ามีความสัมพันธ์ในการแนะนำบุคคลอื่น ๆ ที่รู้จักให้มาใช้บริการ ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6 ภาคสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2558). โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี วันที่ 23 ธันวาคม 2558.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2558) โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558.
Frederick Newell. (2000). Loyalty.Com: Customer Relationship Management in the New Era of Internet Marketing. McGraw-Hill.
Kotler, P., & Keller, K.L. (2006). Marketing management (12th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29