การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, เมืองเป้าหมาย, ส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงรูปแบบการวิจัยนั้นเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย ได้แก่ ปริมาณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

           ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจและตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 21-29 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชนและมีรายได้ประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากที่สุดคือ ด้านกระบวนการให้บริการ รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผลการเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์แสดงให้เห็นว่าลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาพรวมแตกต่างกัน ในทุก ๆ ด้าน ในด้านเพศที่แตกต่างกันนั้นมีผลต่อระดับความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการให้บริการไม่แตกต่างกัน และในด้านสัญชาติที่แตกต่างกันนั้นมีผลต่อระดับความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด้านราคาไม่แตกต่างกัน

References

ขวัญดี ศรีไพโรจน์. (2558). การศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุค: กรณีศึกษาตลาดเกาะลอย อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารกระแสวัฒนธรรม 3-14.ปีที่ 16 ฉบับที่ 30.
จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2560). แผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในจังหวัดสมุทรสงคราม. ดุษฎีนิพนธ์, สขาวิขาการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา, กรุงเทพฯ.
นิตยา งามยิ่งยง. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนบริเวณฝั่งคลองดำเนินสะดวกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, นครปฐม.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2552). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการบริหารการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนรัตน์ ใจเอื้อ (2558). รูปแบบการตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม : ชุมชนบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการกีฬา นันทนาการ และการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ
วันสาด ศรีสุวรรณ. (2553). การศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนของลุ่มน้ำตาปี. ดุษฎีนิพนธ์, สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กรุงเทพฯ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (14 มีนาคม 2561). จำนวนนักท่องเที่ยวอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ค้นเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2561, จาก www.nso.go.th
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Cooper, Fletcher J., and others. (2012). Tourism: Principles and Practice. 3rd. ed. Harlow: Pearson Education Ltd.
Kotler, P., Bowen, J. T., & Makens, J. (2010). Marketing for Hospitality and Tourism. 5th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
UNWTO. (1997). Tourism 2020 Vision. Madrid: UNWTO.
WTO. (1996). What Tourism Managers Need to Know: A Practical Guide to the Development
and Use of Indicators of Sustainable Tourism. Retrieved 23 July 2018. from
https://www.wto.org/english/news_e/pres96_e/anrep.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29