บทบาททางการเมืองของเจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ผู้แต่ง

  • ฤทธิชัย ช่างคำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อเนก เหล่าธรรมทัศน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมบูรณ์ สุขสำราญ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เจ้าหน้าที่ตำรวจ, บทบาททางการเมือง, คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช)

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาททางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงบทบาทการเมืองของเจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และผลกระทบทางการเมืองหลังจากการยึดอำนาจของ คสช. ที่มีผลต่อองค์กรตำรวจ วิธีการวิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก ที่มีการตรวจสอบเครื่องมือที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระเบียบวิธีวิจัยผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 กลุ่ม จำนวน 17 นาย คือ กลุ่มตำรวจชั้นประทวน กลุ่มตำรวจชั้นสัญญาบัตร และ กลุ่มตำรวจผู้บริหารระดับสูง โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

          ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของกลุ่มข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ทั้งก่อนและหลังจากที่ คสช.ยึดอำนาจแล้ว พบว่าไม่ค่อยมีบทบาททางการเมือง ส่วนกลุ่มข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรซึ่งเป็นระดับผู้บริหารระดับต้น ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงบทบาท ผลกระทบทางการเมืองหลังจากมีการปฏิรูปพบว่า มีบทบาททางการเมืองระดับปานกลาง การปฏิบัติหน้าที่จะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นโดยมีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่ออกโดย คสช.มาเป็นกฎระเบียบในการทำงาน มีการแสดงบทบาททางการเมืองค่อนข้างมากกว่า ก่อนยุคที่ คสช.จะยึดอำนาจ

References

กรรณิการ์ ปาลี. (2554). การมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลออนใต้อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
กวี ดำพลับ. (2555). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนสันติสุข ตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจษฎา พันธุ์แก้ว. (2556). บทบาทของตำรวจต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทวีศักดิ์ ตู้จินดา. (2554). บทบาทของรัฐสภาไทยในการควบคุมธรรมาภิบาลของตำรวจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศ คสช.ฉบับที่ 88/2557 เรื่อง แก้ไขฯ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
ประกาศ คสช.ที่ 89/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ 2547
พลตำรวจสัณฐาน ชยนนท์ ( 2558 ) .ภาวะผู้นำของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลต่อการจัดการแก้ไขเหตุความไม่สงบอันเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตทางการเมืองในช่วง พ.ศ.2548-2555
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2560
วิศิษฏ์ มะอักษร. (2550). การพัฒนาบทบาทของตำรวจในการป้องกันอาชญากรรมเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภณัฐ สิรันทวิเนติ. (2552). บทบาทข้าราชการฝ่ายปกครองในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดยะลา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมณ์ พรหมรส. (2552).Road map :การพัฒนาตำรวจไทยให้เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา เชื่อมั่น จากประชาชนและสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.
สมพงษ์ แจ้งเร็ว. (2545). บทบาทของตำรวจสันติบาลในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2475-2500. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Linton. (1978). Centrality in social networks conceptual clarification. Social networks, 1(3), 215-239.
Riggs, F. W. (1967). The theory of political development. Contemporary political analysis, 317-349.
Wyatt, D. K. (2003). Thailand: A short history. Yale University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29