ปัญหาทางกฎหมายการประกันและเยียวยาผู้บริโภคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เบญจพร ศรีนันทวงศ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การคุ้มครองผู้บริโภค, การประกันผู้บริโภค, การเยียวยาผู้บริโภค, ชำรุดบกพร่อง

บทคัดย่อ

          เมื่อยุคสมัย สังคมโลกพัฒนาและการมีผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น ความเจริญและความต้องการในการอุปโภคบริโภครวม ทั้งปริมาณการผลิตมากตามยิ่งขึ้น นำไปสู่การที่ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ค้า ประกอบกับการไม่มีหรือถูกจำกัดความ สามารถในการเจรจาต่อรองหรือกำหนดการแสดงมาตรฐานขั้นต่ำในคุณภาพทั้งทางด้านสินค้าหรือการบริการ ปัญหาที่ยังเป็นจุดบอดประการหนึ่งของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในประเทศไทย คือ “การประกันผู้บริโภค” ซึ่งควรเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคทุกคน

            สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสถิติรับเรื่องร้องทุกข์ผู้บริโภคจากระบบรับเรื่องร้องทุกข์ผู้บริโภค ประจำปี 2562 พบว่า สถิติการร้องเรียนอันดับต้นคือ สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการ นอกจากนี้แล้ว กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องทั้งสารบัญญัติและวิธีบัญญัติล้วนเป็นกฎหมายที่มุ่งแก้ไขเยียวยาที่ปลายเหตุ (indemnification approved approach) มากกว่าการป้องกันเหตุหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์หรือรับการบริการล่วงหน้าในอนาคต (preventive approved approach) ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ปัญหาสินค้าชำรุดบกพร่องสามารถแก้ไขโดยบทกฎหมายทั่วไปตามสัญญาซื้อขายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย บัญญัติไว้ในมาตรา 472 – 474 ซึ่งค่อนข้างไม่ทันสมัยต่อยุคสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาการไม่ชัดเจนในความหมายของ “การชำรุดบกพร่อง” (defect) กรณีชำรุดบกพร่องเล็กน้อย หรือไม่ประจักษ์หรือซ่อนเร้น ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้ในกฎหมายปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีร่างพระราชบัญญัติใหม่เรื่องความรับผิดต่อสินค้าชำรุดบกพร่อง แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ใช้กับกรณีประเภทสินค้ามือหนึ่งเท่านั้น ส่วนสินค้ามือสองหรือการบริการก็มิได้มีกฎหมายกำหนดเฉพาะแต่ประการใด ปัญหาการไม่มีซึ่งคำนิยามและขอบเขตการบังคับใช้เรื่อง “การประกัน” (guarantee) “การรับประกัน” (warranty) อีกทั้ง ยังไม่มีซึ่งมาตรการเยียวยาที่ชัดเจนเพียงพอในเรื่องดังกล่าว ในกรณีการแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสินค้าหรือการบริการ กฎหมายไทยมีกำหนดไว้ในกฎหมายทั่วไป คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกระบวนการทางกฎหมายล้วนดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า ค่าใช้จ่ายสูง และไม่อาจสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กรณีสินค้าชำรุดบกพร่องมีบัญญัติไว้ในมาตรา 41 แต่ก็มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ที่เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจนถึงวิธีการชดใช้เยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เสียหาย เพียงแต่ให้เป็นอำนาจดุลพินิจของศาลกำหนดได้ตามความสมควรและเหมาะสม ตัวอย่างกรณีคำพิพากษาคดี “ฟอร์ด” เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับการประกันผู้บริโภค

            ผู้ศึกษาเสนอให้มีการตราบทบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องการประกันและการเยียวยาผู้บริโภคในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในเรื่องการประกันผู้บริโภคในมาตรา 14(4) ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยอาศัยมาตรา 3 และมาตรา 4(5) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เพื่อทำหน้าที่จัดการดูแลเฉพาะเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง

References

Australian Competition and Consumer Commission. (2016). A guide to competition and consumer law for businesses selling to and supplying consumers with disability. Australian Consumer Law. Retrieved 10 January 2019. from
https://www.accc.gov.au/system/files/1543_A%20guide%20to%20competition%20and%20consumer%20law_FA3.pdf
Australian Competition and Consumer Commission. (2009). Warranties and Refunds: a guide for consumers and Business. Retrieved 10 January 2019. from https://www.accc.gov.au/system/files/Warranties%20and%20refunds%20-%20a%20guide%20for%20consumers%20and%20business.pdf
Courts and Tribunals Judiciary. (2018). Colin Gee and others -v- Depuy International Limited (The Depuy Pinnacle Metal on Metal Hip Litigation). Retrieved 15 January 2019 from https://www.judiciary.uk/judgments/colin-gee-and-others-v-depuy-international-limited-the-depuy-pinnacle-metal-on-metal-hip-litigation/
Laws of Malaysia Act 599. (2001). Consumer Protection Act 1999. Retrieved 22 January 2019
from https://www.kkmm.gov.my/akta_kpkk/Consumer%20Protection.pdf
Legislation (UK). (1987). The Consumer Protection Act 1987. (UK). Retrieved 10 January 2019 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/1987/43
Legislation (UK). (2015). The Consumer Rights Act 2015. (UK). Retrieved 10 January 2019 from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2015/15/pdfs/ukpga_20150015_en.pdf
Manager Online. (2018). The court ordered "Ford" to compensate 296 cases, more than 23 million, selling defective gear cars, dismissing 12 cases. Retrieved 9 January 2019 from
https://mgronline.com/crime/detail/9610000094669
Office of the Council of State. (2008). The Product Liability Act B.E. 2551. (The PL Law). Retrieved 30 January 2019. from http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a4109/%a4109-20-2551-a0001.pdf
Piboonapiban, P. (2013). The legal measure on preventive approved approach on liability of consumer goods. Journal of Thai Justice System, 6(1). Office of Justice Affairs.
Roimalee, J. (2012). The Liabilities of Defect of Goods. Assumption University Law Journal (AULJ), 3(1).
Supanit, S. (2002). The Explanation of consumer protection law. (3th ed). Bangkok: Chulalongkorn University.
Taylor Wessing LLP. (2018). High Court considers meaning of “defect” under the Consumer Protection Act 1987, Retrieved on 28 October 2018. from URL:https://united kingdom.taylorwessing.com/en/insights/radar/high-court-considers-meaning-of-defect-under-the-consumer-protection-act-1987
Thai Government Gazette. (1979). The Consumer Protection Act B.E. 2522 (1979). Retrieved 8 January 2019 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/072/20.PDF
Thai Government Gazette. (1998). The Consumer Protection Act B.E. 2541 (1998). Retrieved 8 January 2019 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/015/1.PDF
Thai Government Gazette. (2013). The Consumer Protection Act B.E. 2556 (2013). Retrieved 8 January 2019 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/025/4.PDF
Thailand Civil and Commercial Code. (2015). Book III. Retrieved 11 January 2019 from http://www.kodmhai.com/m2/m2-4/m4-472-474.html
The European Parliament. (1999). Directive 1999/44/EC of the European Parliament and of the Council of 25 May 1999. Retrieved 11 January 2019. from https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/HTML/?uri=CELEX:01999L0044-20111212&from=EN
The Independent Committee for Consumer Protection (ICCP). (2019). 22 years elapsed for establishment the National Consumer Council. (18 March 2019). Retrieved 21 March 2019 from http://www.indyconsumers.org/main/news-articles/iocp-bill-news-focus/1054-law-2019.html
The Office of The Consumer Protection Board. (2018). The report of statistic of consumer’s complaining 2018. The Office of The Consumer Protection Board.
The Office of The Consumer Protection Board. (2019). The report of statistic of consumer’s complaining 2019. The Office of The Consumer Protection Board.
The Office of The Consumer Protection Board. (2019). The Consumer Protection Act. Retrieved 9 January 2019 from https://www.ocpb.go.th/more_news.php?offset=0&cid=9&startoffset=0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29