เพลงโคราช : ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่มรดกทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • วัลย์ลิกา เจริญศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

เพลงโคราช, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มรดกทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

          จากการละเล่นพื้นบ้านที่ใช้ไหวพริบของหมอเพลง เป็นเพลงที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบในการร้อง เพลงโคราชเป็นการละเล่นในงานพิธีต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของชาวโคราชมาตั้งแต่อดีต เมื่อยุคสมัยกาลเวลาเปลี่ยน ความนิยมในการฟังเพลงเปลี่ยนไป ทำให้การละเล่นที่ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมกำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา จึงจำเป็นที่จะต้องรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญนี้ให้อยู่คู่กับเมืองโคราชสืบไป ด้วยการใช้ส่วนประสมทางการตลาดตามทฤษฏีการส่งเสริมการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ (Product) คือ เพลงโคราชให้มีเนื้อหาที่หลากหลายตรงใจผู้ฟังมากขึ้น ด้านราคา (Price ) ต้องมีการควบคุมราคาให้เหมาะสม ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place ) ด้วยการใช้ช่องทางออนไลน์ การส่งเสริมการตลาด(Promotion ) ด้วยการนำเพลงโคราชเข้าร่วมงานเทศกาลและส่งเสริมการตลาดทางสื่อออนไลน์ ลักษณะทางกายภาพ (Physical evidence) ด้วยการเพิ่มพื้นที่จอดรถ รถรับส่งนักท่องเที่ยว และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการนั่งฟังเพลงโคราช กระบวนการให้บริการ (Process) ด้วยการใช้ Application ในการให้ข้อมูลเพลงโคราชและการชำระค่าสินค้าผ่าน smart phone  และบุคลากร (People) ด้วยการให้ความรู้และฝึกฝนคนรุ่นใหม่ในการร้องเพลงโคราชในสถานศึกษาและการเพิ่มผู้บรรยายในการให้ข้อมูลเพลงโคราช

References

จตุพร ศิริสัมพันธ์. (2552)., “เพลงพื้นบ้าน” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 34, หน้า 48. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2562, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK34/book34_2/Default.html
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.(ม.ป.ป.). ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.
ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2562, จาก http://ich.culture.go.th/
ยศ สันตสมบัติ. (2541). สิทธิชุมชน: การกระจายอำนาจขัดการทรัพยากรสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
รัตติกร ศรีชัยชนะ. (2558). กระบวนท่ารำในเพลงโคราช. วารสารวิชาการราชพฤกษ์. 13(2). กรุงเทพฯ.
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พศ.255 (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก
http://www.royin.go.th/dictionary/
วีระ เลิศจันทึก. (2541). เพลงโคราชในกระแสโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. (2557). ศักยภาพเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา: นครราชสีมา
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (ม.ป.ป.).เพลงโคราชเฉลิมพระเกียรติเล่ม 1.
ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก www.koratmuseum.com/download-art.html
Misiura, S. (2006). Heritage marketing. Oxford, UK: Butterworth-Heinemann.
Middleton V. (1990). แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการตลาด. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม2562, จาก
www.teacher.ssru.ac.th/chantouch_wa/pluginfile.php/438/block_html/content United Nation Educational, scientific and Cultural Organization. (n.d.). Convention concerning the protection of the world cultural and natural heritage. Retrieved 22 March 2019,
from http://whc.unesco.org/en/conventiontext

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29